Energy
Natural Gas for
พลังงานลม ความต้องการในอนาคต
โดย ศุภโชค สรรพศรี
วิศวกร สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อินเดีย เป็นผู้นำในการพัฒนาการใช้ พลังงานลมของเอเชียแปซิฟิค แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการพัฒนาดังกล่าวจะนำหน้าหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน การพัฒนาก็มาถึงจุดสะดุด ดังเช่นในช่วงปีที่ผ่านมา ความคืบหน้าที่ช้าลงทำให้รัฐบาลกลางและคณะรัฐมนตรีว่าการรัฐ ต้องแสวงหาหนทางใหม่ เพื่อกลับสู่การพัฒนาการใช้พลังงานลมอีกครั้งหนึ่ง I.M.Sahai รายงานจากประเทศที่เริ่มต้นพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเหตุผลที่ทำให้การพัฒนาหยุดชะงักชั่วคราว
จากกำลังการผลิตเพียง 41 MW ในปี ค.ศ. 1992 ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็น 1,276 MW เมื่อสิ้นปี ค.ศ 2000 นั่นเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้อินเดียถูกจัดอันดับ 1 ในด้านการพัฒนาพลังงานจากลม ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค และเป็นอันดับ 5 ของโลกรองจากเยอรมัน, สหรัฐอเมริกา, เดนมาร์ก และสเปน
ศักยภาพในการผลิตพลังงานจากลม ของอินเดียเป็นที่รู้จักกันดี และเริ่มวางแผนที่จะใช้พลังงานดังกล่าวมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 โดยหน่วยงานที่รัฐบาลอินเดียจัดตั้งขึ้น มีชื่อว่า “Ministry of Non-Conventional Energy Sources (MNES)” ให้วางแผนผ่านคณะรัฐมนตรีว่าการรัฐ และผู้ลงทุนอิสระ โดยแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ได้จาก Indian Renewable Energy Development Agency (IREDA) และผู้ลงทุนอิสระ โดยในการดำเนินการขั้นแรกนั้น ประกอบด้วยการประเมิน-ศักยภาพการนำพลังงานลมมาใช้งาน , การนำเข้า และรูปแบบการติดตั้งกังหันลม
การดำเนินการตามแผน
ตามแผนงานประเมินพลังงานลม โดยการใช้มอนิเตอร์กว่า 900 เครื่องและสถานีตรวจจับตำแหน่งพลังงานลม ซึ่งเป็นการร่วมทุนของรัฐบาลอินเดีย และคณะรัฐมนตรีว่าการรัฐ เผยให้เห็นศักยภาพของพลังงานลมกว่า 45,195 MW กระจายใน 10 รัฐ ในจำนวนนี้เชื่อว่าสามารถนำมาใช้ได้จริง 9,985 MW หากพิจารณาตามเส้นแบ่งเขตรัฐ รัฐที่มีศักยภาพสูงสุดคือ Maharashtra (2,500 MW), Gujarat (1,450 MW), Andhra Pradesh (1,290 MW) และ Tamil Nadu (1,220 MW) อย่างไรก็ตามในด้านความพร้อมในการนำพลังงานลมมาใช้ Tamil Nadu สามารถนำมาใช้ได้ก่อน 787 MW
แผนงานติดตั้งเครื่องกำเนิดพลังงานลม เริ่มในปี ค.ศ 1985 โดยเริ่มติดตั้งใน 26 แห่ง กระจายใน 9 รัฐ โครงการนี้ ดำเนินการผ่านตัวแทนของรัฐ โดยเป็นการเปิดตัวโครงการลงทุนพลังงานลม และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมแบบใหม่ ในระดับจุลภาคตามแผนงานหลัก แหล่งที่มีศักยภาพ 75 แห่ง ได้ดำเนินการแล้วเสร็จและทำสัญญากับผู้ พัฒนาโครงการแล้ว โดยผู้พัฒนาโครงการจะได้ดำเนินการติดตั้งแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม 1,210 MW ภายในสิ้นปี ค.ศ. 2000 พื้นที่ 2 แห่งที่ใหญ่ที่สุด ที่มีการติดตั้งคือพื้นที่ใกล้กับ Kanyakumari ในอินเดียใต้ (415 MW) และ Satara Distt (149 MW) ใน Maharashtra โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมที่ใหญ่ที่สุด 5 แห่ง เจ้าของเป็นผู้ลงทุนอิสระซึ่งก็คือ
- Vankuswade (Satara) 42 MW Bajaj Group เป็นผู้ดำเนินการ
- ใน Vankuswade เช่นเดียวกัน 29 MW Tata Group เป็นผู้ดำเนินการ
- โรงงาน Coimbatore 20 MW Ramco Industries เป็นผู้ดำเนินการ
- Muppandal (Tamil Nadu) 15 MW Mohan Breweries เป็นผู้ดำเนินการ
- Jogimtti (Maharashtra) 7.95 MW BSES Ltd. เป็นผู้ดำเนินการ
ด้านการเงิน
ในหลายๆ รูปแบบของการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ ปัจจัยทางด้านการเงินก็เป็นส่วนหนึ่งซึ่งอยู่เบื้องหลังการพัฒนาต่างๆ เงินทุนส่วนใหญ่ของโครงการพลังงานจากลมในอินเดีย ได้จากสถาบันทางการเงินที่จัดตั้งขึ้นโดยสาธารณชนในประเทศที่ใหญ่ที่สุดประกอบด้วย 3 สถาบัน คือ Industrial Development Bank of India (IDBI) , Industrial Credit and Investment Corporation of India (ICICI) ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ใน Mumbia และ Industrial Finance Corporation of India (IFCI) ซึ่งตั้งอยู่ใน New Delhi อย่างไรก็ตาม เมื่อมองการลงทุนในด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจอื่นๆ สัดส่วนของเงินที่สถาบันทั้ง 3 แห่ง ให้ยืมเพื่อการลงทุนในด้านพลังงานจากลมน้อยกว่า 1 % ของเงินที่ทางสถาบันให้กู้ยืมทั้งหมด สถาบันที่ 4 ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นคือ Infrastructure Development Finance Company (IDFC) ตั้งขึ้นหลังสถาบันอื่น 3 ปี ทั้งหมดนี้คือ แหล่งเงินทุนในโครงการพลังงานจากลม
อย่างไรก็ตาม โครงการพลังงานจากลมดำเนินการได้เพราะสถาบัน IREDA ซึ่งกรรมการผู้จัดการใหญ่คือ Dr. V Bakthavatsalam เป็นผู้ให้เงินลงทุนกว่า 25 % สำหรับโครงการทั้งหมด
อัตราดอกเบี้ยที่ IREDA กำหนด จะอยู่ในช่วง 12 14.5 % ต่อปี ระยะเวลาที่ชำระหนี้ 10 ปี IREDA คาดว่าผู้ลงทุนจะกู้ยืมอย่างน้อย 25% เพื่อเป็นการแสดงความสนใจที่จะดำเนินการในโครงการนี้ โดยอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมจะขึ้นอยู่กับภาพรวมของผู้กู้ยืมซึ่งดูแลโดย IREDA ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอาจจะลดเหลือ 8-9 % แล้วแต่กรณี โดยจะขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือในการชำระเงินของผู้กู้ยืม, ระยะเวลาในการชำระเงิน, หรือความเชื่อถือทางด้านการเงินระหว่าง ประเทศ ส่วนในเรื่องอื่นๆ ที่มีผลกับอัตราดอกเบี้ย คือขนาดของโครงการ, ความเสี่ยง, ปริมาณพลังงานที่ได้รับ และสถาน-ที่ตั้งของโครงการอยู่ในจุดที่ควบคุมได้หรือบริเวณที่ไม่สามารถเข้าถึงได้
IREDA ในบทบาทที่เป็นผู้ให้เงินลงทุนสำหรับโครงการพลังงานจากลม ทางสถาบันจะใช้เงินทุนสำรองที่ตัวเองมีอยู่มากพอๆ กับการกู้ยืมจากตลาดภายในประเทศ ผ่านความอิสระจากการผูกมัดทางภาษี และเครดิตจากธนาคาร IREDA ได้วางแนวทางป้องกันความเสี่ยงทางด้านการเงินไว้หลายๆ ช่องทางและแหล่งเงินทุนต่างประเทศหลายแห่ง ซึ่งรวมถึง World Bank/GEF ซึ่งสามารถให้เครดิต 78 ล้านเหรียญ, Asian Development Bank ให้เครดิต 6 ล้าน- เหรียญ, KFW ของเยอรมัน ให้เครดิตประมาณ 52 ล้าน เหรียญ และ DANIDA ของเดนมาร์ก ให้เครดิต 15 ล้านเหรียญ
IREDA นับตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งในปี ค.ศ. 2001 ได้ให้เงินลงทุนกว่า 310 โครงการ คิดเป็นศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้ารวม 430 MW โดยในการดำเนินการนี้ได้รับการชำระเงินคืนจากการกู้ยืม กว่า 340 ล้านเหรียญ ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของเงินที่ให้ยืมไปทั้งหมดตลอดโครงการ
การส่งเสริมในด้านอื่นๆ
ส่วนหนึ่งที่ช่วยจูงใจให้กู้ยืมเงินจาก IREDAมาลงทุน คือ ข้อตกลงในการดำเนินการเกี่ยวกับพลังงานจากลม ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันของ IREDA และผู้ลงทุนกับคณะรัฐมนตรีว่าการรัฐข้อตกลงดังกล่าวคือ
- ข้อตกลงในการนำเข้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลม (WEGs) และส่วนประกอบต่างๆ
-การยกเว้นภาษีเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์
- การยกเว้นหรือลดภาษีการค้า
- การร่นเวลาเสื่อมราคาของอุปกรณ์ต่างๆ ในปีแรกที่ทำการติดตั้ง
- การยกเว้นภาษี ใน 5 ปีแรก ข้อตกลงอื่นๆ ที่เกี่ยว-ข้องโครงการทางด้านพลังงานของรัฐบาลร่วม เช่น การตัดสินใจในการจำกัดหรือให้กู้ยืมเงิน 100% ของโครงการที่เสนอ ซึ่งก่อนหน้านี้ สามารถกู้ยืมได้ 40% ของเงินลงทุนโครงการการส่งเสริมของรัฐ
การส่งเสริมที่ทางคณะรัฐมนตรีว่าการรัฐ เพิ่มเติมเข้ามา จะสอดคล้องตามแนวทางที่พิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1995 โดย MNES ซึ่งได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมในปีต่อมา บทสรุปของเอกสารฉบับนี้นำไปสู่นโยบายที่มีรูปแบบ เช่น การกำหนดพิกัดอัตราภาษี ความคิดในเรื่องอัตราภาษีนี้เนื่องมาจากการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากโรงผลิตไฟฟ้าราคาขั้นต่ำสุด คือ 0.0475 ต่อ หน่วย เมื่อคิดจากปี ค.ศ. 1994-1995 เป็น ฐานจะเห็นว่า อัตราภาษีเพิ่มขึ้น 5 % ทุกๆ ปี อีกทั้ง ในความเป็นจริง จะสามารถผลิตพลังงานลมได้เพียงฤดูกาล เดียวเท่านั้น สิ่งนี้ทำให้นโยบายเป็นที่ยอมรับและปฏิบัติในหลายๆ รัฐ
ผลที่เกิดขึ้นคือ รัฐที่มีศักยภาพทางด้านพลังงานลม ทั้งหมด 10 รัฐ ในอินเดียโดย 7 รัฐ เห็นชอบตามนโยบายนี้และอีก 2 รัฐ ได้แก่ Gujarat และ Kerala อยู่ในระหว่างปรับกฎเกณฑ์ให้เป็นไปตามนโยบาย มีเพียงรัฐเดียวคือ Orissa ที่ไม่ได้ดำเนินการตามนโยบายนี้
มรดกทางพลังงาน
การให้การสนับสนุนผู้ลงทุนรายย่อย, ผู้ลงทุนอิสระ ในแนวคิดของ Wind Energy Estate (มรดกทางพลังงานลม) เป็นข้อเสนอของรัฐบาลร่วมภายใต้การเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ลงทุนรายย่อยกับตัวแทนรัฐบาลร่วมเกิดจากความร่วมมือที่ล่าช้า, กระบวนการจัดหาที่หยาบเกินไป เช่น การถือโอกาสและการได้มาของที่ดิน และงานที่หนักหน่วงของรัฐในการควบคุมความเสี่ยง จะทำได้ง่ายขึ้น การทำเช่นนี้จะนำไปสู่การย่นระยะเวลาในการดำเนินการแต่ละโครงการ และผู้ลงทุนอิสระจะเสียค่าใช้จ่ายน้อย รัฐที่เริ่มใช้แนวคิด Energy Estate คือ Madhya Pradesh มีโครงการขนาด 14 MW ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับ เมือง Indore
ผลประโยชน์จากการติดตั้งอุปกรณ์
การสนับสนุนจากรัฐบาลในโครงการพลังงานลม คือ การสนับสนุนการผลิตและติดตั้งอุปกรณ์พลังงานลมปัจจุบัน บริษัทในประเทศ 15 บริษัท ได้สนับสนุนอุปกรณ์และการติดตั้งในโครงการ ทุกๆ บริษัทด้านการเงินหรือด้านเทคนิค เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่มาจากประเทศเยอรมัน เดนมาร์ก และกลุ่มประเทศ Benelux (เบลเยี่ยม, เนเธอแลนด์, ลักซ์เซมเบิก) ซึ่งบริษัทดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณรอบๆ Chennai แต่บางแห่งอยู่ใน Mumbai หรือ Gujarat โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่คือ Vestas, AWT, Elecon, Suzion Energy และ Enercon
การส่งออก
ในความเป็นจริง ความสำเร็จของแผนการในด้านพลังงานลมของอินเดีย ทำให้เกิดการส่งออกส่วนประกอบของกังหันลมและการให้คำปรึกษาแก่ประเทศต่างๆ รายงานประจำปีล่าสุดในปี ค.ศ. 2000-2001 ของ MNEs ระบุว่า มีการติดต่อขอความร่วมมือในการให้คำปรึกษา 9 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้ ที่สามารถดำเนินการได้แล้วมีจำนวน 5 แห่ง โดยในอีก 4 แห่งที่เหลือยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่สามารถทำให้เป็นจริงได้ โดยได้รับความร่วมมือกับรัฐบาลอินเดีย แต่ละแห่งกระจายอยู่ในประเทศตุรกี, ฟิลิปปินส์, อียิปต์ และเวียดนาม ซึ่งในแต่ละประเทศยังต้องการทราบรายละเอียด ในโครงการเพิ่มเติม
การวิจัยและพัฒนา
จากความสามารถในด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และการลงทุนในการทำวิจัยในอินเดีย ทำให้การวิจัยและพัฒนาในด้านนี้เพิ่มขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หลายๆ สิ่งล้วนเกิดจากการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ของ Center for Wind Energy Technology (C-WET) ใน Chennai ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ
- การทดสอบกังหันลม
- การสร้างมาตรฐานและการรับรองคุณภาพ
- การวิจัยและพัฒนา
- การประเมินพลังงานลม
- แหล่งข้อมูลข่าวสาร, การฝึกอบรม และแหล่งสนับสนุนทางด้านการเงิน
สถานีทดสอบกังหันลมได้เริ่มจัดตั้งและดำเนินการในปี ค.ศ.2001 โดยนายกรัฐมนตรีอินเดียใน Kayathar โดย MNEs ได้มอบหมายให้ตัวแทนอิสระ ซึ่งรวมถึง C-WET ดำเนิน-การทดสอบกังหัน และรับรองคุณภาพ โดยแผนงานที่ C-WET เข้าร่วมด้วยในปัจจุบัน ได้แก่
- การพัฒนากังหันลมให้เหมาะสม ในอินเดียและ สภาวะอากาศ
- โครงการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของลมชายฝั่ง
- การประเมินพลังงานลมในระดับมหภาค และจุลภาคและการจัดทำแผนที่พลังงานลมของประเทศ
- การทดสอบ และการจัดทำมาตรฐาน ของอินเดีย
- การประสานงานของผู้สนับสนุนโครงการ
การชะลอตัว
แม้จะมีความก้าวหน้าอย่างมากในการพัฒนาพลัง--งานลมของอินเดีย แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ความก้าวหน้าดังกล่าวดูจะช้าลง และการดำเนินการหลายๆ อย่างไม่เป็นไปตามความคาดหมาย จากอัตราการเพิ่ม 382 MW ระหว่างปี ค.ศ.1995 -1996 อีก 67 MW ในปี ค.ศ. 19961-1997 อีก 56 MW ในปี ค.ศ. 1998-1999, 14 3 MW ในปี ค.ศ. 1999-2000 และ 106 MW (นับถึงปี ค.ศ. 2001) ในปี ค.ศ. 2000-2001 ในช่วง 4 ปีหลัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปีหลังสุด ของอินเดีย ในระหว่างช่วงเวลานั้น คาดหวังว่าจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อย่างน้อย 1000 MW แต่จากการประเมินถึงปัจจุบัน กำลังการผลิตที่สามารถทำได้ สามารถเพิ่มได้เพียง 650 MW ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือและความพยายามอย่างมากจากหลายๆ ฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาพลังงานลมด้วย
บุคคล 2 คนที่เป็นกุญแจสำคัญในโครงการพัฒนาพลังงานลมคือ Mr. A.K. Gupta ที่ปรึกษาและหัวหน้าในการจัดสรรค์พลังงานลมของ MNEs และ Dr. Baktha- vatsalam ผู้อำนวยการของ IREDA ได้ให้เหตุผลหลักในการชะลอตัวของโครงการสอดคล้องกัน นั่นคือ ในระยะเริ่มแรกที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้โครงการพัฒนาพลังงานลม เดินหน้าไป ซึ่งประสบผลสำเร็จและได้ผลตอบรับที่ดีในส่วนของโครงการที่ติดตั้งในประเทศ อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวที่เกิดขึ้น ทั้ง 2 คน เชื่อว่ามีสาเหตุมาจาก
- ในขณะที่ผู้สนับสนุนโครงการ ได้ผลักดันโครงการประเมินพลังงานลมที่เป็นขนาดใหญ่ แต่คณะรัฐมนตรีว่าการรัฐ ได้รับการร้องขอจากผู้ดำเนินโครงการให้ประเมินโครงการพลังงานลมในขนาดเล็ก การขาดข้อมูลที่ถูกต้องในการดำเนินการทำให้เกิดความล่าช้า ในขั้นตอนการทำงานของผู้ดำเนินการ
- นโยบายของรัฐมนตรีว่าการรัฐ ไม่ได้พลิกแพลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือความต้องการของผู้พัฒนา Mr.Gupta และ Dr.Bakthavatsalam ให้ความเห็นว่า “สิ่งนี้ไม่ใช่ระดับที่ผู้พัฒนาจะสามารถทำอะไรได้เลย ปีที่ผ่านมาใน 3 รัฐ ซึ่งรวมถึง Gujarat ไม่มีการประกาศนโยบายใหม่ๆ ในด้านพลังงานลมเลย
- การให้ความใส่ใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทนของผู้บริหารรัฐ ผู้ว่าการรัฐให้ความสนใจน้อยมาก
- แต่ละรัฐในอินเดีย ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการติดตั้ง และจัดระบบพลังงานของตัวเองแล้ว ในหลายกรณีนำไปสู่การยกเลิกคณะกรรมการบริหารด้านพลังงานไฟฟ้าแต่ภายหลังที่มีการยกเลิกแล้ว คณะทำงานที่แต่งตั้งขึ้นยังไม่มีความแน่นอนในการดำเนินการ
- เช่นเดียวกับเหตุผลที่มีการจัดระบบใหม่ กระบวน-การอนุมัติและกำหนดอัตราภาษีควรย้ายจากคณะรัฐมนตรี ว่าการรัฐ และตัวแทนของพวกเขา ไปสู่การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าของรัฐอย่างอิสระ ที่เป็นเช่นนี้จะทำให้การกำหนดกฎเกณฑ์ในแต่ละรัฐสามารถรับฟังความคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่ายได้ โดยในระยะสั้นคณะกรรมการร่วมสามารถวางนโยบายผ่านรัฐมนตรีว่าการรัฐ ในการดำเนินการได้
- ในแต่ละรัฐต้องกำจัดระบบที่ขัดขวางกระบวนการพัฒนาพลังงานลมโดยเร็ว
ทุกๆ องค์ประกอบที่สรุปนี้ ทำให้ความกระตือ--รือร้นในการพัฒนาพลังงานลมลดลง ซึ่งจะเป็นเหมือนกำแพงที่ขัดขวางโครงการพัฒนาพลังงานลมของอินเดีย
การเปลี่ยนแปลงความต้องการ
คณะทำงานร่วมต่างรู้สึกถึงอนาคต ที่ไม่ดีนักจากผลที่ได้ในปีที่ผ่านมา ทางออกของการพัฒนาคือ นโยบายใหม่ๆ มากกว่าความปรองดองกันของผู้พัฒนา ปีที่ผ่านมา MNEs ได้จัดให้มีการประชุมในการกำหนดรูปแบบและ ถึงแม้ว่าต้องการจะผ่านพ้นปัญหาทั้งหลายไป แต่ต้องมีความพร้อมที่จะพัฒนารากฐานให้แข็งแกร่ง จึงจะไม่เป็นการทะเยอทะยานเกินไปที่จะวางแผนผลิตพลังงานลม 6,000 MW ในอีก 10 ปีข้างหน้า ในเวลานี้ศักยภาพทางเทคโนโลยีของประเทศนี้ สามารถเพิ่มขึ้นจากประมาณ 10,000 MW เป็น 20,000 MW แต่น่าเสียดายที่โครงการพลังงานลมของอินเดียจะมาเกยตื้นกับปัญหาหลายๆ อย่าง ถ้าต้องการให้โครงการพลังงานลมก้าวล้ำหน้ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเดียว การพัฒนาพลังงานลมในประเทศไทย เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศความจริงนั้น ประ--เทศไทยได้เริ่มโครงการพลังงานทดแทนมาตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าร่วมเซลล์แสงอาทิตย์ และกังหันลม แบบต่อเข้าระบบจำหน่ายไฟฟ้า สถานที่ที่ดำเนินการทดลองอยู่ในบริเวณสถานีพลังงานทดแทนแหลมพรหมเทพ ที่เกาะภูเก็ต ซึ่งมีแรงลมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลอันดามันในช่วงมรสุม
การพัฒนาพลังงานลมในประเทศไทย
เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศความจริงนั้น ประ--เทศไทยได้เริ่มโครงการพลังงานทดแทนมาตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าร่วมเซลล์แสงอาทิตย์ และกังหันลม แบบต่อเข้าระบบจำหน่ายไฟฟ้า สถานที่ที่ดำเนินการทดลองอยู่ในบริเวณสถานีพลังงานทดแทนแหลมพรหมเทพ ที่เกาะภูเก็ต ซึ่งมีแรงลมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลอันดามันในช่วงมรสุม
ในระยะแรกทาง กฟผ. ได้ทดลองติดตั้งกังหันลม 2 ชุด เป็นกังหันลมที่มีใบกังหัน 3 ใบ แบบแกนหมุนในแนวนอน ความเร็วรอบของกังหันประมาณ 350 รอบต่อนาทีที่ความเร็วลม 12.1 เมตรต่อวินาที หรือประมาณ 2,400 ฟุตต่อนาที ความเร็วลมที่สามารถเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 3.1 เมตรต่อวินาที หรือประมาณ 600 ฟุตต่อนาที ความสูงของเสากังหันลม 20 เมตร ซึ่งจะสามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรงได้รวม 20 kW ประจุเก็บไว้ในแบตเตอรี่ จำนวน 120 ลูก แต่ละลูกมีแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 2 โวลท์ เพื่อจะได้ขนาดแรงดันไฟฟ้ารวม 240 โวลท์ กระแสตรง แล้วจึงใช้ชุดเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ แบบ 3 เฟส 416 โวลท์ 50 Hz ขนาด 15 kVA ผ่านหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อเชื่อมโยงกับระบบจำหน่ายขนาด 33 kV 3 เฟสติดตั้งแล้วเสร็จในปี 2536
กังหันลมอีกชุดหนึ่ง เป็นกังหันลมที่มีใบกังหัน 3 ใบ เป็นแบบแกนหมุนในแนวนอน ความเร็วรอบของกังหันประ--มาณ 38 รอบต่อนาที ที่ความเร็วลม 13 เมตรต่อวินาที หรือประมาณ 2,660 ฟุตต่อนาที ความเร็วลมที่สามารถเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้คือ 4 เมตรต่อวินาที หรือประมาณ 800 ฟุตต่อนาที ความสูงของเสากังหันลม 31 เมตร ขนาด กำลังผลิตสูงสุด 150 kW เป็นกังหันลมชนิดติดตั้งกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส 400 โวลท์ 50 Hz ติดตั้งแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2539
จากการทดลองจ่ายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากกังหันลม เข้าสู่ระบบจำหน่าย พบว่า ได้ผลเป็นที่น่าพอใจกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ จะมีประโยชน์กับท้องถิ่นบริเวณนั้น ซึ่งเป็นบริเวณปลายสายส่ง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ต้องการใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก แต่การใช้กังหันลมจะประสบปัญหาในด้าน พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จะไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากความเร็วและทิศทางของลมไม่แน่นอน อีกทั้ง เสาของกังหันลมมีขนาดใหญ่ทำให้ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก ดังเช่นในสถานที่ทดลอง กังหันลมขนาด 150 kW มีขนาดใหญ่ จึงต้องนำไปติดตั้งใกล้กับหน้าผาชัน ทำให้เผชิญกับกระแสลมแปรปรวน และการสั่นสะเทือน อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายแก่ชิ้นส่วนต่างๆ ของกังหันลม รวมไปถึงชิ้นส่วนต่างๆ ของกังหันลมยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศทำให้ค่าใช้จ่ายสูง และเป็นการเสียดุลการค้ากับต่างชาติ ดังนั้น ในอนาคตหากจะพัฒนาให้สามารถนำพลังงานลมมาใช้ได้ ควรที่จะคำนึงถึงผลกระทบ ในด้านต่างๆ ด้วย
ในสภาวะปัจจุบัน โลกกำลังมีปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ปริมาณการใช้พลังงานที่มากขึ้น ดังนั้น การทดลองนี้จะเป็นแนวทางเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ และเป็นทางเลือกพลังงานอีกทางหนึ่ง ที่สะอาดและมีอยู่อย่างไม่จำกัด จึงควรที่ภาครัฐจะให้ความสำคัญ และให้การสนับสนุนการวิจัย เพื่อการพัฒนาให้เป็นแหล่งพลังงาน
แปลและเรียบเรียงจาก
- “IN NEED OF FURTHER momentum” Asia-Pacific Power Management P.21-24
- www.egat.or.th/rddenergy/phuket.html
โครงการท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก และ โครงการโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูด
โดย รัฐฐาน์ ฤทธิเกริกไกร
วิศวกร สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความเรื่องโครงการท่อส่งก๊าซและสถานี แยกก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก และโครงการโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูดนี้ เป็นบทความที่รวบรวมและนำเสนอความเป็นมาพร้อมข้อมูลที่มีประโยชน์ของโครงการ แต่แหล่งข้อมูลที่สามารถรวบรวมและอ้างอิงได้นั้น มาจากหน่วยงานของรัฐและสื่อมวลชนเป็นหลัก มิได้มีเจตนาที่จะสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใด
ปัญหาท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก และโครงการโรงไฟฟ้าบ้าน หินกรูด เป็นปัญหาที่เริ่มจากความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่ จนขณะนี้ลุกลามเป็นปัญหาระดับประเทศไปแล้ว รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก และโครงการโรงไฟฟ้าบ้าน หินกรูด รวม 3 โครงการ (ฉบับที่ 2) โดยในส่วนโครงการท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย รัฐบาลตกลงให้ดำเนินการตามสัญญาและเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาส่งผลกระทบต่อสังคมและชุมชน จึงให้ ปตท. เปลี่ยนจุดวางท่อขึ้นฝั่งจากจุดเดิมที่บ้านตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา ไปในรัศมี ไม่เกิน 5 กิโลเมตร โดยให้จุดที่จะขึ้นฝั่งเลยไปทางด้านเหนือที่บริเวณบ้านในไร่ ต.สะกอ
ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก และโครงการโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูดได้ชะลอการก่อสร้างออกไปอย่างน้อย 2 ปี โรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งจะมีการสร้างหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับเอกชน การออกแถลงการณ์ของรัฐบาลได้มีการคำนึงถึงสัญญาที่ให้กับประชาชน ผลกระทบต่างๆ การ สำรองไฟฟ้า และความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ทั้งนี้พบว่าอัตราขยายตัวของการใช้ไฟฟ้ามีเพียงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้จัดทำไว้เพราะคาด--การณ์เดิมระบุว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะขยายตัวร้อยละ 6-7 โดย กฟผ. ระบุว่าไฟฟ้าเพียงพออย่างน้อยถึง พ.ศ. 2550 แต่ทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วพบว่าตัวเลขไฟฟ้าในปัจจุบันอาจเพียงพอถึงปี พ.ศ. 2553 ในส่วนของค่าชดเชยให้มีการตกลงกันระหว่างคู่สัญญาทั้งสอง โดยทางเอกชนไม่น่าจะหยิบยกเรื่องเหตุสุดวิสัยที่เกิดจากรัฐบาลมาเป็นข้อเรียกร้องค่าเสียหาย เนื่องจากเอกชนเองก็ไม่มีความพร้อมในการก่อสร้าง โดยโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก ยัง ไม่สามารถหาแหล่งเงินกู้ได้ จนถึงขณะนี้เลยระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญาแล้ว ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูดยังขาดใบอนุญาตเรื่องที่ดินอีก 1 ใบ
ความเป็นมาของโครงการท่อก๊าซเจดีเอ
โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียหรือ JDA เป็นโครงการที่สร้างรากฐานพลังงานชาติได้อีก 60 ปี หลังจากที่ต้องนำเข้าพลังงานและเสียเงินตราต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ถ่านหิน จนกระทั่งประเทศไทยได้ค้นพบแหล่งก๊าซในอ่าวไทยและได้เข้าร่วมเป็นเจ้าของแหล่งก๊าซธรรมชาติกลางทะเลร่วมกับมาเลเซีย เกิดความมั่นคงด้านพลังงานถึงรุ่นลูกหลานและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย โครงการความร่วมมือท่อส่งก๊าซและสถานีแยก ก๊าซไทย-มาเลเซีย เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของประเทศ เพื่อนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ประโยชน์จากพื้นที่ JDA ซึ่งเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวที่ไทยและมาเลเซียได้อ้างสิทธิเหลื่อมล้ำกันเกี่ยวกับเส้นเขตไหล่ทวีปในพื้นที่ 7,250 ตารางกิโลเมตรกันมาเป็นเวลานานไม่มีใครสามารถเข้าไปสำรวจทรัพยากรปิโตรเลียมบริเวณดังกล่าวได้ ซึ่งกว่าจะยุติความขัดแย้งและแปรมาเป็นความร่วมมือกันได้ต้องใช้เวลาหลายปี จึงถือเป็นต้นแบบของการเจรจาเปลี่ยนความขัดแย้งด้านดินแดนมาสู่ความร่วมมือด้านพลังงาน ซึ่งไทยและมาเลเซียต่างได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน
โครงการท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซียจะสร้างศักยภาพการพัฒนาให้ภาคใต้ตอนล่าง ลำพัง ปตท.เองไม่อาจดำเนินการได้เพราะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องให้โครงการท่อก๊าซและสถานีแยกก๊าซเป็นตัวนำร่องเพื่อการพัฒนาภาคใต้ตอนล่างที่จะตามมาในอนาคต การร่วมทุนกับเปโตรนาสในโครงการ ดังกล่าว ยังทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติของไทยเข้ากับมาเลเซียเป็นครั้งแรก สร้างความมั่นคงต่อการจัดหาในอนาคต เนื่องจากมาเลเซียมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองมากกว่า 80 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตและเป็นปฐมบทของการเชื่อมโยงเครือข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคอาเซียน (Trans-ASEAN Gas Pipeline) ด้วย ความสำเร็จของการดำเนินโครงการร่วมทุนท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซียจะเป็นก้าวสำคัญให้ไทยก้าวขึ้นสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค สามารถแข่งขันกับมาเลเซียและสิงคโปร์ได้ แม้ว่าไทยอาจจะไม่มีทรัพยากรก๊าซธรรมชาติมากเท่ามาเลเซีย แต่เรามีความได้เปรียบ เนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางของแหล่งก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค อีกทั้งยังมีตลาดก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่รองรับด้วย ขณะนี้มาเลเซียและสิงคโปร์ต่างต้องการที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านพลังงานก๊าซธรรมชาติในกลุ่มอาเซียน เพราะทุกคนตระหนักดีว่าก๊าซธรรมชาติจะเป็นเชื้อเพลิงหลักของโลกในยุคหน้าน้ำมันก็กำลังจะหมดไป โดยสัดส่วนการผลิตต่อการสำรองน้ำมันโลก (R/P Ratio)มีเหลือใช้ได้อีกเพียง 40 ปี ทั้งยังมีราคาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปัจจัยของตลาดโลกในขณะที่ก๊าซธรรมชาติในโลกยังมีเหลือให้ใช้อยู่อีกถึง 60 ป
ปัญหาหนึ่งของจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ก็คือ ปัญหาไฟฟ้าตก/ไฟฟ้าดับ จากข้อมูลของ สพช. ที่รวบรวมสถิติไฟฟ้าดับในส่วนของการไฟฟ้าภาคใต้เขต 3 ประกอบด้วยจังหวัด สงขลา พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พบว่าปีที่ผ่านมาไฟฟ้าดับถึง 1,534 นาที ในขณะที่การไฟฟ้านครหลวงไฟฟ้าดับเพียง 52 นาทีในปีเดียวกัน ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ แต่ภาคใต้ตอนล่างกลับไม่มีโรงไฟฟ้าในพื้นที่ ต้องจัดหาไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าในพื้นที่อื่น และบางส่วนนำเข้าจากมาเลเซีย โครงการท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย จะเข้ามาช่วยรองรับสร้างศักยภาพในการพัฒนาทางด้านพลังงานของภาคใต้ต่อไปในอนาคต
โครงการฯ ได้มีการวิเคราะห์ผลตอบแทนการ ลงทุน และพบว่าโครงการฯ มีผลตอบแทนการลงทุนในระดับที่ร้อยละ 15 -18 ซึ่งเป็นระดับที่คุ้มค่าต่อการลงทุน (ได้รวมต้นทุนทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมไว้แล้ว) การใช้เงินลงทุนในโครงการนี้ ร้อยละ 70 (ประมาณ 20,000 ล้านบาท) เป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินต่างๆ ในรูปของ Project Finance ซึ่งถ้าหากไม่คุ้มทุนก็คงจะไม่มีสถาบันการเงินใดพิจารณาให้เงินกู้
โครงการนี้มี ปตท. และเปโตรนาส เป็นผู้รับประกันการจ่ายค่าบริการของโครงการฯ จึงทำให้บริษัทฯ มีรายได้ที่แน่นอนและมีผลตอบแทนอยู่ในระดับตามที่กำหนดไว้ นอกจากผลตอบแทนของโครงการนี้มีความคุ้มทุนแล้ว ยังมีความสามารถในการใช้คืนเงินกู้โดยไม่เป็นภาระของรัฐบาลอย่างแน่นอน สิ่งที่ประเทศและชุมชนท้องถิ่นจะได้รับจากโครงการฯ นอกเหนือจากผลตอบแทนทางเศรษฐ-- ศาสตร์แล้ว โครงการนี้ยังมีความสำคัญโดยเฉพาะต่อพื้นที่ภาคใต้เพราะจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมจากท้องถิ่นที่นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จากการสร้างความพร้อมทางด้านพลังงานสะอาดไว้รองรับ สร้างศักยภาพพลังงานเพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรม-- ชาติในอนาคต และเมื่อรัฐบาลประกาศใช้ระบบราคาก๊าซหุงต้มลอยตัวโดยยกเลิกการชดเชยค่าขนส่งก๊าซหุงต้ม ซึ่งปัจจุบันรัฐมีภาระชดเชยค่าก๊าซหุงต้มใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากสถานีแยกก๊าซขนอมไปยังคลังก๊าซธรรมชาติสงขลาเป็นจำนวนเงินถึงปีละ 252 ล้านบาท ซึ่งทันทีที่รัฐบาลใช้ราคาลอยตัวจะทำให้ผู้ใช้ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้เองดังนั้น ผู้ใช้ก๊าซหุงต้มที่อยู่ใกล้สถานีแยกก๊าซจะซื้อก๊าซ หุงต้มได้ในราคาที่ต่ำกว่าผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลออกไป นอกเหนือจากภาษีที่บริษัทจะต้องจ่ายให้กับท้องถิ่นในรูปภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน ตลอดอายุโครงการ (20ปี) ประมาณ ไม่น้อยกว่า 640 ล้านบาทแล้ว บริษัทฯ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคมชุมชนในพื้นที่ ได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาสังคมสำหรับพื้นที่ โครงการฯ ไว้ไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านบาท เพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิต รักษาประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยเป็นไปตามความต้องการของชุมชนเอง
สำหรับในด้านประโยชน์ของประเทศแล้ว จะมี รายได้จากภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จากโครงการนี้เป็นจำนวนเงินประมาณ 12,685 ล้านบาท และความมั่นคงด้านพลังงานซึ่งทำให้เพิ่มปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติให้กับประเทศอีก 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต อีกทั้งประหยัดเงินตราต่างประเทศได้อีกถึงประมาณ 18,000 ล้านบาท (470 ล้านเหรียญสหรัฐ) จากการนำก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง JDA ซึ่งมีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงอื่นไปใช้แทนน้ำมันเตาในโรงไฟฟ้าหรือโรงงานอุตสาหกรรม (ซึ่งเป็นการเทียบราคาน้ำมันเตาที่ 15 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล)
ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่แหล่ง JDA บริษัทที่ได้รับสิทธิสำรวจและผลิต ต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันที่กำหนดโดยเป็นผู้ลงทุนและแบกรับความเสี่ยงแต่เพียง ฝ่ายเดียว แต่เมื่อบริษัทประสบความสำเร็จในการสำรวจพบปิโตรเลียม รายได้ที่เกิดขึ้นจะนำมาแบ่งกับองค์กรร่วมฯ โดยคิดเป็นค่าภาคหลวงส่วนแบ่งกำไรสุทธิ ภาษีเงินได้ปิโตร-- เลียม ซึ่งรัฐไม่ต้องลงทุนและแบกรับการประสบกับความเสี่ยงจากโครงการใด ๆ เลย สำหรับบริษัท ไตรตัน ออยล์ ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมจากรัฐบาลไทย ตั้งแต่ปี 2515 ซึ่งขณะนั้นไทยและมาเลเซียยังไม่บรรลุข้อตกลงเป็นพื้นที่พัฒนาร่วม รัฐบาลไทยได้แจ้งให้ผู้รับสัมปทานที่มีแปลงสำรวจในเขตพื้นที่ทับซ้อนหยุดการสำรวจในพื้นที่ดังกล่าวจนกว่าจะหาข้อยุติเรื่องเขตทับซ้อนทางทะเลกับประเทศ เพื่อนบ้าน เมื่อไทยและมาเลเซียบรรลุข้อตกลงจัดตั้งองค์กรร่วมเมื่อปี 2535 องค์กรร่วมได้ให้สิทธิแก่บริษัทผู้รับสัมปทานเดิมที่ได้รับสิทธิจากรัฐบาลไทยและมาเลเซีย ซึ่งฝ่ายไทย ได้แก่ บริษัท ไตรตัน ออยล์ ในแปลง A-18 บริษัท ปตท. ในแปลง B-17 และ C-19 ในการพัฒนาแหล่ง JDA ส่วนของผลประโยชน์ในแปลง A-18 เมื่อคำนวณโดยหักค่าใช้จ่ายแล้ว รัฐบาลไทยและมาเลเซียได้รับส่วนแบ่งโดยผ่าน องค์กรร่วมคิดเป็นร้อยละ 62 บริษัทสำรวจได้รับส่วนแบ่ง ร้อยละ 38
ก๊าซธรรมชาติกับความจำเป็น ต้องใช้ภายในประเทศ
บาทของก๊าซธรรมชาติตลอด 20 ปีที่ผ่านมา คือเป็นเชื้อเพลิงทดแทนการใช้พลังงานน้ำมัน ปัจจุบันก๊าซธรรมชาติที่ขุดจากอ่าวไทยคิดเป็น 30% ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในประเทศวันนี้ หากไม่มีก๊าซธรรมชาติ ประเทศไทยจะต้องซื้อ-นำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศอีกถึงวันละ 3 แสนบาร์เรล จากการพัฒนาการใช้ก๊าซตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้วันนี้ เราผลิตไฟฟ้าโดย 69.8% ใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นพลังงานหลัก นอกจากนี้ก๊าซธรรมชาติยังใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมส่งให้สถานีแยกก๊าซ ซึ่งผลิตก๊าซหุงต้ม ก๊าซ อีเทน มีเทน ส่งไปยังอุตสาหกรรมปิโตรเคมี วันนี้ 50% ของก๊าซหุงต้มหรือ LPG ที่ใช้ตามครัวเรือนทั่วประเทศก็มาจากสถานีแยกก๊าซของกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท.นั่นเอง
การพัฒนาก๊าซธรรมชาติในอนาคตก็ยังเป็นสิ่ง จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปริมาณก๊าซเท่าที่มีอยู่ในอ่าวไทยจะไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในวันข้างหน้า ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งก๊าซในประเทศเพื่อนบ้าน ตั้งแต่ปี 2542 เริ่มรับก๊าซจากพม่า จนถึงปัจจุบัน ก๊าซธรรมชาติที่ในระบบ 75% มาจากอ่าวไทย และอีก 25% เป็นก๊าซที่ได้จากโครงการท่อก๊าซ ไทย-พม่า และในอีก 10 ปีข้างหน้า สัดส่วนการใช้ก๊าซที่จะเปลี่ยนแปลงไป โดย 50% จะเป็นก๊าซในอ่าวไทยของเราเอง อีก 50% จะเป็นก๊าซจากพม่าและพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียหรือ JDA ในระยะยาวมีความจำเป็นจะต้องพัฒนาแหล่งก๊าซในอ่าวไทยเพิ่มขึ้น เช่นในพื้นที่ทับซ้อนระหว่าง ไทย-กัมพูชา รวมไปถึงจุดอื่นใน มาเลเซีย อินโดนีเซียในอนาคตยังจะมีโครงการทรานส์ อาเชี่ยน ไพป์ไลน์ เชื่อมโยงระบบท่อก๊าซเข้าด้วยกัน โครงข่ายท่อก๊าซที่จะเชื่อมถึงกัน เป็นสิ่งที่จะเกิดในอนาคต ไม่ใช่มองแต่เฉพาะแหล่งก๊าซสำรองในอ่าวไทยของเราเพียงอย่างเดียว แต่จะมองว่าในอาเซียน แหล่งก๊าซสำรองโดยรวมทำให้เป็นระบบพูลที่มีโครงข่ายท่อเชื่อมต่อกัน มาเลเซีย บรูไน พม่า อาจจะเป็นเป็นผู้ขาย-ส่งออก ขณะที่ไทยจะเป็นผู้ซื้อ-นำเข้าผ่านเครือข่ายท่อที่เชื่อมถึงกัน ซึ่งจะสะดวก และราคาถูกกว่าแทนที่จะพึ่งพาเฉพาะการนำเข้าพลังงาน เชื้อเพลิงเหลวจากตะวันออกกลางเป็นหลักแต่เพียง ด้านเดียว

ตารางที่ 1 สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศต่างๆ (หน่วยเป็น %)
ความเป็นมาของโครงการโรงไฟฟ้า บ่อนอก หินกรูด
เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายลดภาระการลงทุน ภาครัฐและจะส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้า จึงกำหนดให้มีการลงทุนโดยเอกชนในการผลิตไฟฟ้าในรูปของผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer-IPP) ในโครงการใหม่ โดยจะขายไฟฟ้าให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2537 อนุมัติตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เรื่องแนวนโยบายในการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนในรูปของ ไอพีพี โดยมติดังกล่าวกำหนดให้ กฟผ. และสำนัก--งานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ร่วมกันร่างประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชน โดยมีบริษัทที่ปรึกษาเป็นผู้ร่วมดำเนินการ และได้มีการประกาศรับซื้อในวันที่ 15 ธันวาคม 2537 เป็นต้นไป โดยกำหนดยื่นข้อเสนอในวันที่ 30 มิถุนายน 2538 โดยการรับซื้อไฟฟ้าจะแยกรับเป็น 2 ระยะ จำนวนทั้งสิ้น 5,800 เมกะวัตต์ ดังน
- ระยะที่ 1 จำนวน 1,700 เมกะวัตต์ แล้วเสร็จในช่วงปี 2539-2543
- ระยะที่ 2 จำนวน 4,100 เมกะวัตต์ แล้วเสร็จในช่วงปี 2544 และ 2545
จากหลักการประเมินและคัดเลือกข้อเสนอตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กฟผ. ได้คัดเลือกข้อเสนอจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน 7 ราย จากผู้ยื่นข้อเสนอทั้งสิ้น 32 ราย รวม 50 ข้อเสนอ รวมกำลังผลิตที่เสนอทั้งสิ้น 39,037 เมกะวัตต์ ดังต่อไปนี้
- บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด ขนาดกำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็น เชื้อเพลิง
- บริษัท ไตรเอ็นเนอร์จี้ จำกัด ขนาดกำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
- บริษัท อีสเทอร์น เพาเวอร์ อิเลคตริก จำกัด ขนาดกำลังผลิต 350 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็น เชื้อเพลิง
- บริษัท ยูเนี่ยน เพาเวอร์ ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด ขนาดกำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ (2 x 700 เมกะวัตต์) ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
- บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด ขนาดกำลังผลิต 734 เมกะวัตต์ (2 x 367 เมกะวัตต์) ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
- บริษัท บ่อวินทู เพาเวอร์ จำกัด ขนาดกำลังผลิต 713 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
- บริษัท บี แอล ซี พี จำกัด ขนาดกำลังผลิต 1,341 เมกะวัตต์ (2 x 370.5 เมกะวัตต์) ใช้ถ่านหินเป็น เชื้อเพลิง
โรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็น 2 ใน 7 ราย ของโครงการ ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) ที่ได้รับคัดเลือก ตามแผนงานของ กฟผ. ซึ่งประกอบด้วย โรงไฟฟ้าบ้านหินกรูด อ.บางสะพาน ของบริษัท ยูเนี่ยน เพาเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด กำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าบ่อนอก อ.เมือง ของบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจน--เนอเรชั่น จำกัด กำลังผลิต 734 เมกะวัตต์ แต่ถูกชาวบ้านในพื้นที่คัดค้าน เนื่องจากเกรงว่าการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงจะกระทบสภาพแวดล้อม การรวมตัวคัดค้านเริ่มเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2538 และขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากยกเลิกโครงการ โรงไฟฟ้าบ่อนอก หินกรูด
ปัญหาการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก-หินกรูดนั้น เริ่มจากความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่ จนลุกลามเป็นปัญหาระดับประเทศ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการตัดสินใจ หลังจากมีการรวบรวมข้อมูล และข้อคิดเห็นจากหลายฝ่ายไปแล้ว เราลองมาพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากต้องมีการยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้ง 2 โครงการนี้
1. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่ต้องมีโรงไฟฟ้าและสามารถรักษาสภาพแวดล้อมได้เช่นเดิม และมีวิถีชีวิตเหมือนเดิม ชาวบ้านสามารถทำประมง เลี้ยงกุ้ง ทำรีสอร์ทได้ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังจำเป็นต้องสร้างโรง--ไฟฟ้าใหม่อยู่ดี ดังนั้น จึงต้องหาสถานที่ทำเลใหม่ เริ่มต้นทำการศึกษาความเหมาะสม ซึ่งน่าจะดีหากเริ่มต้นใหม่โดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมตั้งแต่แรก แต่ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะเกิดการต่อต้านจากชาวบ้านอีกหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องยากที่จะสร้างความพอใจให้กับทุกๆ คนได้ อาจมีการต่อต้านจากกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนแล้วลุกลามเป็นการต่อต้านใหญ่โตไปในที่สุด
2. โรงไฟฟ้าใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีโอกาสเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินน้อยมาก เพราะเคยถูกต่อต้านสำเร็จมาแล้ว ดังนั้น แนวโน้มโรงไฟฟ้าที่จะสร้างใหม่ที่ยอมรับได้ จึงน่าจะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเชื่อกันว่ามีมลพิษน้อย ในขณะที่ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าของประเทศพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากกว่าร้อยละ 70 ดังนั้น หากต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติมาเสริมอีกก็จะทำให้ทางเลือกการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าน้อยลง ต้องพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ซึ่งหากมีปัญหาในเรื่องการจัดหาก๊าซธรรมชาติก็จะทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอกับความต้องการใช้ได้และราคาค่าไฟฟ้าก็จะขึ้นอยู่กับก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก และโอกาสที่ค่าไฟฟ้าจะแพงก็มีความเป็นไปได้สูง
3. เงินชดเชยใครจะจ่าย หากรัฐผิดเพราะเป็นคนบอกเลิกสัญญาโดยที่บริษัทไม่ผิดรัฐก็ต้องจ่าย แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบริษัทผิดรัฐก็ไม่ต้องจ่ายแถมยังได้ค่าชดเชยด้วย เรื่องนี้ต้องว่ากันยาวหลายปี แต่ที่แน่ๆ คือ ทำให้บรรยากาศการลงทุนแย่ลง การแปรรูปกิจการไฟฟ้าก็จะลำบากมากขึ้น ระบบไฟฟ้าก็จะผูกขาดไปอีกนาน
4. หากไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินนำเข้า ก็ต้องเป็นไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง การนำเข้าก๊าซธรรมชาติมาเผาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้านั้นเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าถ่านหิน เพราะสามารถนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เคมีได้อีกมาก และสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมและยานพาหนะเพื่อทดแทนน้ำมัน จึงไม่ควรเร่งนำก๊าซธรรมชาติมาเผาเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า ดังจะเห็นได้จากประเทศที่มีก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจำนวนมาก จะไม่ใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าถึงร้อยละ 50 ของการผลิตไฟฟ้า ส่วนแคนาดาและอินโดนีเซียกว่าร้อยละ 25 ของไฟฟ้ามาจากถ่านหิน ดังนั้น จึงควรใช้ก๊าซธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและควรเก็บไว้ใช้นานๆ ตราบจนชั่วลูกชั่วหลาน
5.เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากที่สุด จึงได้รณรงค์ให้ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เพื่อนำมาอ้างเป็นผลงานการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของตนเอง เป็นการช่วยลดแรงกดดันในเรื่องสิ่งแวดล้อมสำหรับประเทศของตน การนำกลยุทธนี้มาใช้เป็นประโยชน์ต่อสหรัฐอเมริกาหรือประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นอย่างมาก นอกจากจะทำให้ประเทศกำลังพัฒนาเดินตามเจตนารมย์ คือ ลดการทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังทำให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีให้เท่าเทียมกับประเทศพัฒนา และทำให้ประเทศกำลังพัฒนาต้องใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นที่มีต้นทุนสูงกว่ามาแทน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผลผลิตทางอุตสาหกรรมแข่งกับประเทศพัฒนาแล้ว
โรงไฟฟ้าถ่านหินในโลกปัจจุบัน
การใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ายังคงพึ่งพาพลังงานสิ้นเปลืองเป็นหลัก เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนมีต้นทุนสูงมากสำหรับพลังงานสิ้นเปลือง โดยเฉพาะถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงที่มีปริมาณสำรองกว่า 200 ปี และราคามีเสถียรภาพ ทำให้หลายประเทศในโลกใช้เป็นเชื้อเพลิงหลัก สำหรับผลิตไฟฟ้า ดังแสดงในตารางที่ 1 นอกจากนี้กลุ่มประเทศต่างๆ ในโลกก็ยังคงมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้ากันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศจีน แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน เช่น ประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ก็ยังมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ด้วย ดังแสดงในตารางที่ 2
บทสรุป
แม้ว่ารัฐบาลจะตกลงให้ดำเนินการโครงการท่อ ส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซียต่อไป โดยขยับจุดวางท่อขึ้นฝั่งจากบ้านตลิ่งชัน อ. จะนะ จ. สงขลา ไปที่บริเวณบ้านไร่ ต. สะกอ ซึ่งมีรัศมีประมาณ 4.5 กิโลเมตร แต่ยังคงต้องคำนึงถึงเสียงตอบรับของประชาชนทั้งด้าน สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรงอย่างเช่นในวันที่ 21 ตุลาคม 2543 ที่แม้ว่ารัฐจะไดพิจารณาโครงการเป็นอย่างดีแล้ว แต่ยังขาดการพิจารณาเรื่อง “สิทธิชุมชน” จึงทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง และรุนแรงจนเป็นปัญหาระดับประเทศ้
ในด้านของโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก และโครงการโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูด ที่ได้ชะลอการก่อสร้างออกไปอย่างน้อย 2 ปี นอกจากจะต้องคำนึงถึงปัญหา และ มุมมองต่างๆ เหมือนโครงการท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซียแล้ว ยังต้องคำนึงถึงผลดี-ผลเสียของโรงไฟฟ้าแบบต่างๆ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าหลักของประเทศไทยเรา, ปริมาณ กำลังไฟฟ้าสำรองในประเทศ, ค่าใช้จ่ายต่างๆ และคุ้มในด้านเศรษฐศาสตร์ อย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง เพื่อหาจุดลงตัวของทุกฝ่ายต่อไป

ตารางที่ 2 ตัวอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหินของประเทศต่างๆ
เรียบเรีบงข้อมูลจาก
- ท่อก๊าซ, หนังสือพิมพ์คมชัดลึก, 12 พฤษภาคม 2545 หน้า 14
- ไม่มีใครแพ้-ใครชนะ ปตท. ซื้อก๊าซ JDA ความมั่นคงพลังงานชาติ, หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, 13 พฤษภาคม 2545
- เดินหน้าท่อก๊าซชะลอ 2 โรงไฟฟ้า, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 10 พฤษภาคม 2545
- สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศต่างๆ, วารสารกิจการไฟฟ้า, ธันวาคม 2544 หน้า 3
- สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (หินกรูด-บ่อนอก), สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ,มกราคม 2545, www.nepo.co.th
- โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก, บริษัทกัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด, www.gulf.co.th/thai.html
- โครงการโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูด, บริษัทยูเนี่ยน เพาเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด, www.updc.co.th
- ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการยกเลิกโครงการบ่อนอก-หินกรูด, NEPO NEWSLETTER, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เมษายน 2545 หน้า 3
- โรงไฟฟ้าถ่านหินในโลกปัจจุบัน, วารสารกิจการไฟฟ้า, เมษายน 2545 หน้า 3
เชื้อเพลิงสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
ก๊าซธรรมชาติสามารถนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยตรงหรือใช้กับเครื่องจักร ได้แก่ หม้อน้ำ อุปกรณ์เป่าหรืออบแห้ง เตาหลอม เตาเผา ในโรงงานแทนเชื้อเพลิงอื่น อาทิ ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเตา โดยปัจจุบัน ปตท. ได้ส่งก๊าซฯ ให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิค เหล็ก กระจก ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ยางรถยนต์ เครื่องสุขภัณฑ์ ทองแดง โลหะ เคมีภัณฑ์ หลอดภาพโทรทัศน์ ฯลฯ และลูกค้าอุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบ Co-Generation อีก 12 ราย การใช้ก๊าซธรรมชาติในโรงงานอุตสาหกรรมนี้นับได้ว่าได้เติบโตสูงขึ้นทุกปี และล่าสุดในปี 2545 มีปริมาณการใช้วันละประมาณ 198 ล้านลูกบาศก์ฟุต เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ถึงร้อยละ 8
ข้อดีของการใช้ก๊าซฯ
ก๊าซธรรมชาติมีราคาสมเหตุสมผล ไม่มีภาระเรื่องการเก็บสำรองหรือขนส่ง ให้ความร้อนสม่ำเสมอ เสียค่าดำเนินการและค่าบำรุงรักษาน้อยเนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นโดยลำดับ จากข้อได้เปรียบด้านเทคโนโลยีจากการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ยิ่งไปกว่านั้นยังจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ หม้อน้ำ ได้นานขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ลูกค้าอุตสาหกรรมสามารถมั่นใจได้ถึงคุณภาพของก๊าซที่สม่ำเสมอและมีความมั่นคงต่อเนื่องของก๊าซฯ ที่รับได้จาก ปตท. ตลอดเวลา เพราะก๊าซธรรมชาติจากระบบท่อฝั่งตะวันออกจะมีค่าความร้อนคงที่เป็นหนึ่งเดียวและมีคุณภาพเดียวกันทั้งระบบ เนื่องจากมีการติดตั้งหน่วยควบคุมจุดกลั่นตัวของก๊าซธรรมชาติ (Dew Point Control Unit) และอุปกรณ์รวมก๊าซธรรมชาติ (Common Header)
เครือข่ายการให้บริการ
โรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ตามแนวท่อก๊าซฯ บนบกของของ ปตท.ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สามารถเลือกใช้ก๊าซธรรมชาติได้ โดยในหลักการนั้น ปตท.เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการวางท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติส่งก๊าซจากระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท.ไปจนถึงโรงงานของบริษัท
ทั้งนี้ ท่านสามารถติดต่อกับทีมงานวิศวกรที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะให้คำแนะนำและปรึกษาในการดำเนินการ และด้วยระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท.ทั้งบนบกและในทะเลมีความยาวนับพันกิโลเมตร ปตท.จึงได้จัดตั้งหน่วยงานปฏิบัติการก๊าซรับผิดชอบการปฏิบัติงานของระบบท่อออกเป็นเขตที่ชัดเจนเพื่อควบคุมการรับ-ส่งก๊าซแก่ลูกค้าก๊าซฯ และบำรุงรักษาระบบอย่างทั่วถึงตลอด 24 ชั่วโมงได้แก่
- ส่วนปฏิบัติการระบบท่อเขต 1 ครอบคลุมจังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานครบางส่วน
- ส่วนปฏิบัติการระบบท่อเขต 2 ครอบคลุมจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพ และสระบุรี นนทบุรีและนครปฐม
- ส่วนปฏิบัติการระบบท่อเขต 3 ครอบคลุมจังหวัดระยองและชลบุรี
- ส่วนปฏิบัติการระบบท่อเขต 5 ครอบคลุมจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรีและนครปฐม
ทั้งนี้ ส่วนปฏิบัติการเขตต่างๆ นี้ มีหน้าที่หลักในการดูแลบำรุงรักษาระบบท่อรวมถึงดูแลโรงงานอุตสาหกรรมในเขตรับผิดชอบ รวมทั้งในกรณีเหตุฉุกเฉินที่อาจมีผลกระทบต่อการส่งก๊าซและกระบวนการผลิตของบริษัทนอกเวลาราชการด้วย
บริการลูกค้า
โรงงานอุตสาหกรรมที่ประสงค์จะสอบถามข้อมูลรายละเอียดในการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ความเป็นไปได้ในการต่อท่อก๊าซฯ ไปยังโรงงาน เพื่อรับบริการ ต้นทุนในการสร้างระบบขนส่ง ตลอดจนด้านเทคนิคและการเงินต่างๆ สามารถติดต่อส่วนบริการลูกค้าก๊าซ ฝ่ายระบบท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ โทร. 02 537-3235-9 โทรสาร 0 2537-3257 ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริการลูกค้าเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยตรง อีกทั้งให้คำแนะนะและจัดอบรมให้ความรู้ต่างๆ ในด้านความปลอดภัยและการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ก๊าซธรรมชาติ NG
ก๊าซธรรมชาติเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เกิดจากการทับถมของซากพืชและ สัตว์จำพวกจุลินทรีย์ที่อาศัยในโลกมานานนับหลายร้อยล้านปี โดยทั่วไปก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตจะประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด ได้แก่ มีเทน โปรเพน บิวเทน เฮกเซน และก๊าซอื่นๆ อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์
ก๊าซธรรมชาติไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและพิษ จัดได้ว่าเป็นพลังงานที่ปลอดภัยสูงสุดผลิตภัณฑ์หนึ่งในปัจจุบัน เมื่อเผาไหม้จะเป็นเชื้อเพลิงสะอาดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมันและถ่านหิน ด้วยเหตุนี้นานาอารยะประเทศจึงนิยมใช้ก๊าซธรรมชาติกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ
ปตท.และบริษัทในกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ เป็นผู้ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติครบวงจรเพียงรายเดียวในประเทศ โดยเป็นผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติจากผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศตอบสนองความต้องการในประเทศมากว่า 20 ปี ปริมาณก๊าซฯ ที่จัดหาจากทุกสัญญาซึ่งเป็นสัญญาระยะยาว โดยปัจจุบันมีปริมาณที่จัดส่งให้ลูกค้าทุกประเภทรวม 2,300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นอกจากนี้ ประเทศมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ (Proved Reserves) ถึง 12.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่างก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา และก๊าซหุงต้ม
ข้อเปรียบเทียบ | ก๊าซธรรมชาติ | น้ำมันเตา | ก๊าซหุงต้ม |
1. ความปลอดภัย | เบากว่าอากาศเมื่อรั่วไหล จะลอยขึ้นสู่ที่สูง กระจายไปในอากาศ | ปลอดภัยน้อย เมื่อรั่วไหลจะนองอยู่บนพื้น | ปลอดภัยน้อย เนื่องจากหนักกว่าอากาศ เมื่อรั่วจะสะสมอยู่ระดับพื้น |
2. ความพร้อม ในการนำมาใช้งาน | สถานะเป็นก๊าซนำไปใช้ได้เลย | สถานะเป็นของเหลว ต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสม ในการผสมกับอากาศ ก่อนการเผาไหม้ | สถานะเป็นของเหลว ต้องทำให้เป็นก๊าซ ก่อนนำไปใช้งาน |
3. ประสิทธิภาพของการเผาไหม้ | เผาไหม้ได้สมบูรณ์ สถานะเป็นก๊าซสามารถผสมกับอากาศได้ดีกว่า | เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ทำให้น้ำมันเป็นฝอยได้ยากผสมกับอากาศได้ไม่ดี | เผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่า น้ำมันเตา สามารถผสมกับอากาศได้ดีกว่า |
4. ผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมจากการเผาไหม้ | เผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่า สะอาด ปราศจากเขม่า ไม่เกิดมลภาวะ | เผาไหม้ได้สมบูรณ์น้อยกว่า มีเขม่าติดและไอเสียมาก | เผาไหม้ได้สมบูรณ์ ปราศจากเขม่า |
6. คุณลักษณะทางเคมี | มีกำมะถันน้อยมาก และไม่มีวานาเดียม ทำให้เกิดการกัดกร่อน อุปกรณ์น้อยกว่า | เกิดการกัดกร่อนของอุปกรณ์ ที่เกิดจาก Low-Temperature Corrosion ของ Sulfur และ High Temperature Corrosion | มีกำมะถันน้อยกว่าน้ำมันเตา ทำให้เกิดการกัดกร่อน ของอุปกรณ์น้อย |
7. ค่าใช้จ่ายอื่น - ขนส่งโดยระบบท่อเข้าสู่โรงงาน |
|
|
|
การใช้ก๊าซธรรมชาติ
ทั้งนี้ ปตท.ส่งก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตต่างๆ ดังนี้
- การผลิตกระแสไฟฟ้า สำหรับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก
- เชื้อเพลิงสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
- เชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์
การควบคุมคุณภาพ
ปตท.ตระหนักดีว่าการควบคุมคุณภาพก๊าซธรรมชาติเป็นงานที่มีความสำคัญมาก และเนื่องจากก๊าซธรรมชาติที่ ปตท.ส่งให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นรับจากหลากหลายแหล่งที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน จึงได้ทำการปรับปรุงก๊าซฯ ในฝั่งตะวันออกให้มีคุณภาพเดียวกันหมดและคงที่ ก่อนส่งเข้าระบบท่อเพื่อส่งต่อไปยังลูกค้าแต่ละราย นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพก๊าซธรรมชาติให้เป็นไปตามสัญญาอย่างสม่ำเสมอตามวิธีมาตรฐานสากล เพื่อความมั่นใจสูงสุดว่าก๊าซธรรมชาติที่ซื้อจาก ปตท.มีคุณภาพได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
ในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของก๊าซธรรมชาตินั้นมีการดำเนินการวิเคราะห์ดังต่อไปนี้
- การเก็บตัวอย่างก๊าซธรรมชาติเพื่อวิเคราะห์ค่าส่วนประกอบของก๊าซธรรมชาติ (มีเทน อีเทน โปรเพน เพนเทน เฮกเซน คาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจน) โดยใช้เครื่อง Gas Chromatograph
- การวัดค่าและคำนวณค่าความร้อนของก๊าซธรรมชาติ (Gross Heating Value) ซึ่งจะควบคุมให้เป็นไปตามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่างบริษัทและลูกค้า
- การวัดและคำนวณค่าความถ่วงจำเพาะ ของก๊าซ ฯ (Gas Relative Density) โดยใช้เครื่อง Gravitometer
- การวัดและควบคุมค่าความชื้นของก๊าซฯ (Moisture Contents)
- การควบคุมและวิเคราะห์ปริมาณออกซิเจนในก๊าซธรรมชาติ
- การควบคุมและวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบซัลเฟอร์และปริมาณปรอท
ก๊าซแอลพีจี หรือก๊าซหุงต้ม
|
![]() | |||||||||||||||||
|
![]() | ||
|
Boiler
พลังงานลม ความต้องการในอนาคต
โดย ศุภโชค สรรพศรี
วิศวกร สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อินเดีย เป็นผู้นำในการพัฒนาการใช้ พลังงานลมของเอเชียแปซิฟิค แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการพัฒนาดังกล่าวจะนำหน้าหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน การพัฒนาก็มาถึงจุดสะดุด ดังเช่นในช่วงปีที่ผ่านมา ความคืบหน้าที่ช้าลงทำให้รัฐบาลกลางและคณะรัฐมนตรีว่าการรัฐ ต้องแสวงหาหนทางใหม่ เพื่อกลับสู่การพัฒนาการใช้พลังงานลมอีกครั้งหนึ่ง I.M.Sahai รายงานจากประเทศที่เริ่มต้นพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเหตุผลที่ทำให้การพัฒนาหยุดชะงักชั่วคราว
จากกำลังการผลิตเพียง 41 MW ในปี ค.ศ. 1992 ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็น 1,276 MW เมื่อสิ้นปี ค.ศ 2000 นั่นเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้อินเดียถูกจัดอันดับ 1 ในด้านการพัฒนาพลังงานจากลม ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค และเป็นอันดับ 5 ของโลกรองจากเยอรมัน, สหรัฐอเมริกา, เดนมาร์ก และสเปน
ศักยภาพในการผลิตพลังงานจากลม ของอินเดียเป็นที่รู้จักกันดี และเริ่มวางแผนที่จะใช้พลังงานดังกล่าวมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 โดยหน่วยงานที่รัฐบาลอินเดียจัดตั้งขึ้น มีชื่อว่า “Ministry of Non-Conventional Energy Sources (MNES)” ให้วางแผนผ่านคณะรัฐมนตรีว่าการรัฐ และผู้ลงทุนอิสระ โดยแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ได้จาก Indian Renewable Energy Development Agency (IREDA) และผู้ลงทุนอิสระ โดยในการดำเนินการขั้นแรกนั้น ประกอบด้วยการประเมิน-ศักยภาพการนำพลังงานลมมาใช้งาน , การนำเข้า และรูปแบบการติดตั้งกังหันลม
การดำเนินการตามแผน
ตามแผนงานประเมินพลังงานลม โดยการใช้มอนิเตอร์กว่า 900 เครื่องและสถานีตรวจจับตำแหน่งพลังงานลม ซึ่งเป็นการร่วมทุนของรัฐบาลอินเดีย และคณะรัฐมนตรีว่าการรัฐ เผยให้เห็นศักยภาพของพลังงานลมกว่า 45,195 MW กระจายใน 10 รัฐ ในจำนวนนี้เชื่อว่าสามารถนำมาใช้ได้จริง 9,985 MW หากพิจารณาตามเส้นแบ่งเขตรัฐ รัฐที่มีศักยภาพสูงสุดคือ Maharashtra (2,500 MW), Gujarat (1,450 MW), Andhra Pradesh (1,290 MW) และ Tamil Nadu (1,220 MW) อย่างไรก็ตามในด้านความพร้อมในการนำพลังงานลมมาใช้ Tamil Nadu สามารถนำมาใช้ได้ก่อน 787 MW
แผนงานติดตั้งเครื่องกำเนิดพลังงานลม เริ่มในปี ค.ศ 1985 โดยเริ่มติดตั้งใน 26 แห่ง กระจายใน 9 รัฐ โครงการนี้ ดำเนินการผ่านตัวแทนของรัฐ โดยเป็นการเปิดตัวโครงการลงทุนพลังงานลม และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมแบบใหม่ ในระดับจุลภาคตามแผนงานหลัก แหล่งที่มีศักยภาพ 75 แห่ง ได้ดำเนินการแล้วเสร็จและทำสัญญากับผู้ พัฒนาโครงการแล้ว โดยผู้พัฒนาโครงการจะได้ดำเนินการติดตั้งแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม 1,210 MW ภายในสิ้นปี ค.ศ. 2000 พื้นที่ 2 แห่งที่ใหญ่ที่สุด ที่มีการติดตั้งคือพื้นที่ใกล้กับ Kanyakumari ในอินเดียใต้ (415 MW) และ Satara Distt (149 MW) ใน Maharashtra โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมที่ใหญ่ที่สุด 5 แห่ง เจ้าของเป็นผู้ลงทุนอิสระซึ่งก็คือ
- Vankuswade (Satara) 42 MW Bajaj Group เป็นผู้ดำเนินการ
- ใน Vankuswade เช่นเดียวกัน 29 MW Tata Group เป็นผู้ดำเนินการ
- โรงงาน Coimbatore 20 MW Ramco Industries เป็นผู้ดำเนินการ
- Muppandal (Tamil Nadu) 15 MW Mohan Breweries เป็นผู้ดำเนินการ
- Jogimtti (Maharashtra) 7.95 MW BSES Ltd. เป็นผู้ดำเนินการ
ด้านการเงิน
ในหลายๆ รูปแบบของการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ ปัจจัยทางด้านการเงินก็เป็นส่วนหนึ่งซึ่งอยู่เบื้องหลังการพัฒนาต่างๆ เงินทุนส่วนใหญ่ของโครงการพลังงานจากลมในอินเดีย ได้จากสถาบันทางการเงินที่จัดตั้งขึ้นโดยสาธารณชนในประเทศที่ใหญ่ที่สุดประกอบด้วย 3 สถาบัน คือ Industrial Development Bank of India (IDBI) , Industrial Credit and Investment Corporation of India (ICICI) ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ใน Mumbia และ Industrial Finance Corporation of India (IFCI) ซึ่งตั้งอยู่ใน New Delhi อย่างไรก็ตาม เมื่อมองการลงทุนในด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจอื่นๆ สัดส่วนของเงินที่สถาบันทั้ง 3 แห่ง ให้ยืมเพื่อการลงทุนในด้านพลังงานจากลมน้อยกว่า 1 % ของเงินที่ทางสถาบันให้กู้ยืมทั้งหมด สถาบันที่ 4 ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นคือ Infrastructure Development Finance Company (IDFC) ตั้งขึ้นหลังสถาบันอื่น 3 ปี ทั้งหมดนี้คือ แหล่งเงินทุนในโครงการพลังงานจากลม
อย่างไรก็ตาม โครงการพลังงานจากลมดำเนินการได้เพราะสถาบัน IREDA ซึ่งกรรมการผู้จัดการใหญ่คือ Dr. V Bakthavatsalam เป็นผู้ให้เงินลงทุนกว่า 25 % สำหรับโครงการทั้งหมด
อัตราดอกเบี้ยที่ IREDA กำหนด จะอยู่ในช่วง 12 14.5 % ต่อปี ระยะเวลาที่ชำระหนี้ 10 ปี IREDA คาดว่าผู้ลงทุนจะกู้ยืมอย่างน้อย 25% เพื่อเป็นการแสดงความสนใจที่จะดำเนินการในโครงการนี้ โดยอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมจะขึ้นอยู่กับภาพรวมของผู้กู้ยืมซึ่งดูแลโดย IREDA ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอาจจะลดเหลือ 8-9 % แล้วแต่กรณี โดยจะขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือในการชำระเงินของผู้กู้ยืม, ระยะเวลาในการชำระเงิน, หรือความเชื่อถือทางด้านการเงินระหว่าง ประเทศ ส่วนในเรื่องอื่นๆ ที่มีผลกับอัตราดอกเบี้ย คือขนาดของโครงการ, ความเสี่ยง, ปริมาณพลังงานที่ได้รับ และสถาน-ที่ตั้งของโครงการอยู่ในจุดที่ควบคุมได้หรือบริเวณที่ไม่สามารถเข้าถึงได้
IREDA ในบทบาทที่เป็นผู้ให้เงินลงทุนสำหรับโครงการพลังงานจากลม ทางสถาบันจะใช้เงินทุนสำรองที่ตัวเองมีอยู่มากพอๆ กับการกู้ยืมจากตลาดภายในประเทศ ผ่านความอิสระจากการผูกมัดทางภาษี และเครดิตจากธนาคาร IREDA ได้วางแนวทางป้องกันความเสี่ยงทางด้านการเงินไว้หลายๆ ช่องทางและแหล่งเงินทุนต่างประเทศหลายแห่ง ซึ่งรวมถึง World Bank/GEF ซึ่งสามารถให้เครดิต 78 ล้านเหรียญ, Asian Development Bank ให้เครดิต 6 ล้าน- เหรียญ, KFW ของเยอรมัน ให้เครดิตประมาณ 52 ล้าน เหรียญ และ DANIDA ของเดนมาร์ก ให้เครดิต 15 ล้านเหรียญ
IREDA นับตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งในปี ค.ศ. 2001 ได้ให้เงินลงทุนกว่า 310 โครงการ คิดเป็นศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้ารวม 430 MW โดยในการดำเนินการนี้ได้รับการชำระเงินคืนจากการกู้ยืม กว่า 340 ล้านเหรียญ ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของเงินที่ให้ยืมไปทั้งหมดตลอดโครงการ
การส่งเสริมในด้านอื่นๆ
ส่วนหนึ่งที่ช่วยจูงใจให้กู้ยืมเงินจาก IREDAมาลงทุน คือ ข้อตกลงในการดำเนินการเกี่ยวกับพลังงานจากลม ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันของ IREDA และผู้ลงทุนกับคณะรัฐมนตรีว่าการรัฐข้อตกลงดังกล่าวคือ
- ข้อตกลงในการนำเข้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลม (WEGs) และส่วนประกอบต่างๆ
-การยกเว้นภาษีเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์
- การยกเว้นหรือลดภาษีการค้า
- การร่นเวลาเสื่อมราคาของอุปกรณ์ต่างๆ ในปีแรกที่ทำการติดตั้ง
- การยกเว้นภาษี ใน 5 ปีแรก ข้อตกลงอื่นๆ ที่เกี่ยว-ข้องโครงการทางด้านพลังงานของรัฐบาลร่วม เช่น การตัดสินใจในการจำกัดหรือให้กู้ยืมเงิน 100% ของโครงการที่เสนอ ซึ่งก่อนหน้านี้ สามารถกู้ยืมได้ 40% ของเงินลงทุนโครงการการส่งเสริมของรัฐ
การส่งเสริมที่ทางคณะรัฐมนตรีว่าการรัฐ เพิ่มเติมเข้ามา จะสอดคล้องตามแนวทางที่พิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1995 โดย MNES ซึ่งได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมในปีต่อมา บทสรุปของเอกสารฉบับนี้นำไปสู่นโยบายที่มีรูปแบบ เช่น การกำหนดพิกัดอัตราภาษี ความคิดในเรื่องอัตราภาษีนี้เนื่องมาจากการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากโรงผลิตไฟฟ้าราคาขั้นต่ำสุด คือ 0.0475 ต่อ หน่วย เมื่อคิดจากปี ค.ศ. 1994-1995 เป็น ฐานจะเห็นว่า อัตราภาษีเพิ่มขึ้น 5 % ทุกๆ ปี อีกทั้ง ในความเป็นจริง จะสามารถผลิตพลังงานลมได้เพียงฤดูกาล เดียวเท่านั้น สิ่งนี้ทำให้นโยบายเป็นที่ยอมรับและปฏิบัติในหลายๆ รัฐ
ผลที่เกิดขึ้นคือ รัฐที่มีศักยภาพทางด้านพลังงานลม ทั้งหมด 10 รัฐ ในอินเดียโดย 7 รัฐ เห็นชอบตามนโยบายนี้และอีก 2 รัฐ ได้แก่ Gujarat และ Kerala อยู่ในระหว่างปรับกฎเกณฑ์ให้เป็นไปตามนโยบาย มีเพียงรัฐเดียวคือ Orissa ที่ไม่ได้ดำเนินการตามนโยบายนี้
มรดกทางพลังงาน
การให้การสนับสนุนผู้ลงทุนรายย่อย, ผู้ลงทุนอิสระ ในแนวคิดของ Wind Energy Estate (มรดกทางพลังงานลม) เป็นข้อเสนอของรัฐบาลร่วมภายใต้การเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ลงทุนรายย่อยกับตัวแทนรัฐบาลร่วมเกิดจากความร่วมมือที่ล่าช้า, กระบวนการจัดหาที่หยาบเกินไป เช่น การถือโอกาสและการได้มาของที่ดิน และงานที่หนักหน่วงของรัฐในการควบคุมความเสี่ยง จะทำได้ง่ายขึ้น การทำเช่นนี้จะนำไปสู่การย่นระยะเวลาในการดำเนินการแต่ละโครงการ และผู้ลงทุนอิสระจะเสียค่าใช้จ่ายน้อย รัฐที่เริ่มใช้แนวคิด Energy Estate คือ Madhya Pradesh มีโครงการขนาด 14 MW ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับ เมือง Indore
ผลประโยชน์จากการติดตั้งอุปกรณ์
การสนับสนุนจากรัฐบาลในโครงการพลังงานลม คือ การสนับสนุนการผลิตและติดตั้งอุปกรณ์พลังงานลมปัจจุบัน บริษัทในประเทศ 15 บริษัท ได้สนับสนุนอุปกรณ์และการติดตั้งในโครงการ ทุกๆ บริษัทด้านการเงินหรือด้านเทคนิค เกี่ยวข้องกับบริษัทต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่มาจากประเทศเยอรมัน เดนมาร์ก และกลุ่มประเทศ Benelux (เบลเยี่ยม, เนเธอแลนด์, ลักซ์เซมเบิก) ซึ่งบริษัทดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณรอบๆ Chennai แต่บางแห่งอยู่ใน Mumbai หรือ Gujarat โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่คือ Vestas, AWT, Elecon, Suzion Energy และ Enercon
การส่งออก
ในความเป็นจริง ความสำเร็จของแผนการในด้านพลังงานลมของอินเดีย ทำให้เกิดการส่งออกส่วนประกอบของกังหันลมและการให้คำปรึกษาแก่ประเทศต่างๆ รายงานประจำปีล่าสุดในปี ค.ศ. 2000-2001 ของ MNEs ระบุว่า มีการติดต่อขอความร่วมมือในการให้คำปรึกษา 9 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้ ที่สามารถดำเนินการได้แล้วมีจำนวน 5 แห่ง โดยในอีก 4 แห่งที่เหลือยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่สามารถทำให้เป็นจริงได้ โดยได้รับความร่วมมือกับรัฐบาลอินเดีย แต่ละแห่งกระจายอยู่ในประเทศตุรกี, ฟิลิปปินส์, อียิปต์ และเวียดนาม ซึ่งในแต่ละประเทศยังต้องการทราบรายละเอียด ในโครงการเพิ่มเติม
การวิจัยและพัฒนา
จากความสามารถในด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และการลงทุนในการทำวิจัยในอินเดีย ทำให้การวิจัยและพัฒนาในด้านนี้เพิ่มขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หลายๆ สิ่งล้วนเกิดจากการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ของ Center for Wind Energy Technology (C-WET) ใน Chennai ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ
- การทดสอบกังหันลม
- การสร้างมาตรฐานและการรับรองคุณภาพ
- การวิจัยและพัฒนา
- การประเมินพลังงานลม
- แหล่งข้อมูลข่าวสาร, การฝึกอบรม และแหล่งสนับสนุนทางด้านการเงิน
สถานีทดสอบกังหันลมได้เริ่มจัดตั้งและดำเนินการในปี ค.ศ.2001 โดยนายกรัฐมนตรีอินเดียใน Kayathar โดย MNEs ได้มอบหมายให้ตัวแทนอิสระ ซึ่งรวมถึง C-WET ดำเนิน-การทดสอบกังหัน และรับรองคุณภาพ โดยแผนงานที่ C-WET เข้าร่วมด้วยในปัจจุบัน ได้แก่
- การพัฒนากังหันลมให้เหมาะสม ในอินเดียและ สภาวะอากาศ
- โครงการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของลมชายฝั่ง
- การประเมินพลังงานลมในระดับมหภาค และจุลภาคและการจัดทำแผนที่พลังงานลมของประเทศ
- การทดสอบ และการจัดทำมาตรฐาน ของอินเดีย
- การประสานงานของผู้สนับสนุนโครงการ
การชะลอตัว
แม้จะมีความก้าวหน้าอย่างมากในการพัฒนาพลัง--งานลมของอินเดีย แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ความก้าวหน้าดังกล่าวดูจะช้าลง และการดำเนินการหลายๆ อย่างไม่เป็นไปตามความคาดหมาย จากอัตราการเพิ่ม 382 MW ระหว่างปี ค.ศ.1995 -1996 อีก 67 MW ในปี ค.ศ. 19961-1997 อีก 56 MW ในปี ค.ศ. 1998-1999, 14 3 MW ในปี ค.ศ. 1999-2000 และ 106 MW (นับถึงปี ค.ศ. 2001) ในปี ค.ศ. 2000-2001 ในช่วง 4 ปีหลัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปีหลังสุด ของอินเดีย ในระหว่างช่วงเวลานั้น คาดหวังว่าจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อย่างน้อย 1000 MW แต่จากการประเมินถึงปัจจุบัน กำลังการผลิตที่สามารถทำได้ สามารถเพิ่มได้เพียง 650 MW ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือและความพยายามอย่างมากจากหลายๆ ฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาพลังงานลมด้วย
บุคคล 2 คนที่เป็นกุญแจสำคัญในโครงการพัฒนาพลังงานลมคือ Mr. A.K. Gupta ที่ปรึกษาและหัวหน้าในการจัดสรรค์พลังงานลมของ MNEs และ Dr. Baktha- vatsalam ผู้อำนวยการของ IREDA ได้ให้เหตุผลหลักในการชะลอตัวของโครงการสอดคล้องกัน นั่นคือ ในระยะเริ่มแรกที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้โครงการพัฒนาพลังงานลม เดินหน้าไป ซึ่งประสบผลสำเร็จและได้ผลตอบรับที่ดีในส่วนของโครงการที่ติดตั้งในประเทศ อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวที่เกิดขึ้น ทั้ง 2 คน เชื่อว่ามีสาเหตุมาจาก
- ในขณะที่ผู้สนับสนุนโครงการ ได้ผลักดันโครงการประเมินพลังงานลมที่เป็นขนาดใหญ่ แต่คณะรัฐมนตรีว่าการรัฐ ได้รับการร้องขอจากผู้ดำเนินโครงการให้ประเมินโครงการพลังงานลมในขนาดเล็ก การขาดข้อมูลที่ถูกต้องในการดำเนินการทำให้เกิดความล่าช้า ในขั้นตอนการทำงานของผู้ดำเนินการ
- นโยบายของรัฐมนตรีว่าการรัฐ ไม่ได้พลิกแพลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือความต้องการของผู้พัฒนา Mr.Gupta และ Dr.Bakthavatsalam ให้ความเห็นว่า “สิ่งนี้ไม่ใช่ระดับที่ผู้พัฒนาจะสามารถทำอะไรได้เลย ปีที่ผ่านมาใน 3 รัฐ ซึ่งรวมถึง Gujarat ไม่มีการประกาศนโยบายใหม่ๆ ในด้านพลังงานลมเลย
- การให้ความใส่ใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทนของผู้บริหารรัฐ ผู้ว่าการรัฐให้ความสนใจน้อยมาก
- แต่ละรัฐในอินเดีย ส่วนใหญ่ได้ดำเนินการติดตั้ง และจัดระบบพลังงานของตัวเองแล้ว ในหลายกรณีนำไปสู่การยกเลิกคณะกรรมการบริหารด้านพลังงานไฟฟ้าแต่ภายหลังที่มีการยกเลิกแล้ว คณะทำงานที่แต่งตั้งขึ้นยังไม่มีความแน่นอนในการดำเนินการ
- เช่นเดียวกับเหตุผลที่มีการจัดระบบใหม่ กระบวน-การอนุมัติและกำหนดอัตราภาษีควรย้ายจากคณะรัฐมนตรี ว่าการรัฐ และตัวแทนของพวกเขา ไปสู่การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าของรัฐอย่างอิสระ ที่เป็นเช่นนี้จะทำให้การกำหนดกฎเกณฑ์ในแต่ละรัฐสามารถรับฟังความคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่ายได้ โดยในระยะสั้นคณะกรรมการร่วมสามารถวางนโยบายผ่านรัฐมนตรีว่าการรัฐ ในการดำเนินการได้
- ในแต่ละรัฐต้องกำจัดระบบที่ขัดขวางกระบวนการพัฒนาพลังงานลมโดยเร็ว
ทุกๆ องค์ประกอบที่สรุปนี้ ทำให้ความกระตือ--รือร้นในการพัฒนาพลังงานลมลดลง ซึ่งจะเป็นเหมือนกำแพงที่ขัดขวางโครงการพัฒนาพลังงานลมของอินเดีย
การเปลี่ยนแปลงความต้องการ
คณะทำงานร่วมต่างรู้สึกถึงอนาคต ที่ไม่ดีนักจากผลที่ได้ในปีที่ผ่านมา ทางออกของการพัฒนาคือ นโยบายใหม่ๆ มากกว่าความปรองดองกันของผู้พัฒนา ปีที่ผ่านมา MNEs ได้จัดให้มีการประชุมในการกำหนดรูปแบบและ ถึงแม้ว่าต้องการจะผ่านพ้นปัญหาทั้งหลายไป แต่ต้องมีความพร้อมที่จะพัฒนารากฐานให้แข็งแกร่ง จึงจะไม่เป็นการทะเยอทะยานเกินไปที่จะวางแผนผลิตพลังงานลม 6,000 MW ในอีก 10 ปีข้างหน้า ในเวลานี้ศักยภาพทางเทคโนโลยีของประเทศนี้ สามารถเพิ่มขึ้นจากประมาณ 10,000 MW เป็น 20,000 MW แต่น่าเสียดายที่โครงการพลังงานลมของอินเดียจะมาเกยตื้นกับปัญหาหลายๆ อย่าง ถ้าต้องการให้โครงการพลังงานลมก้าวล้ำหน้ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเดียว การพัฒนาพลังงานลมในประเทศไทย เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศความจริงนั้น ประ--เทศไทยได้เริ่มโครงการพลังงานทดแทนมาตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าร่วมเซลล์แสงอาทิตย์ และกังหันลม แบบต่อเข้าระบบจำหน่ายไฟฟ้า สถานที่ที่ดำเนินการทดลองอยู่ในบริเวณสถานีพลังงานทดแทนแหลมพรหมเทพ ที่เกาะภูเก็ต ซึ่งมีแรงลมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลอันดามันในช่วงมรสุม
การพัฒนาพลังงานลมในประเทศไทย
เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศความจริงนั้น ประ--เทศไทยได้เริ่มโครงการพลังงานทดแทนมาตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าร่วมเซลล์แสงอาทิตย์ และกังหันลม แบบต่อเข้าระบบจำหน่ายไฟฟ้า สถานที่ที่ดำเนินการทดลองอยู่ในบริเวณสถานีพลังงานทดแทนแหลมพรหมเทพ ที่เกาะภูเก็ต ซึ่งมีแรงลมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลอันดามันในช่วงมรสุม
ในระยะแรกทาง กฟผ. ได้ทดลองติดตั้งกังหันลม 2 ชุด เป็นกังหันลมที่มีใบกังหัน 3 ใบ แบบแกนหมุนในแนวนอน ความเร็วรอบของกังหันประมาณ 350 รอบต่อนาทีที่ความเร็วลม 12.1 เมตรต่อวินาที หรือประมาณ 2,400 ฟุตต่อนาที ความเร็วลมที่สามารถเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 3.1 เมตรต่อวินาที หรือประมาณ 600 ฟุตต่อนาที ความสูงของเสากังหันลม 20 เมตร ซึ่งจะสามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรงได้รวม 20 kW ประจุเก็บไว้ในแบตเตอรี่ จำนวน 120 ลูก แต่ละลูกมีแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 2 โวลท์ เพื่อจะได้ขนาดแรงดันไฟฟ้ารวม 240 โวลท์ กระแสตรง แล้วจึงใช้ชุดเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ แบบ 3 เฟส 416 โวลท์ 50 Hz ขนาด 15 kVA ผ่านหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อเชื่อมโยงกับระบบจำหน่ายขนาด 33 kV 3 เฟสติดตั้งแล้วเสร็จในปี 2536
กังหันลมอีกชุดหนึ่ง เป็นกังหันลมที่มีใบกังหัน 3 ใบ เป็นแบบแกนหมุนในแนวนอน ความเร็วรอบของกังหันประ--มาณ 38 รอบต่อนาที ที่ความเร็วลม 13 เมตรต่อวินาที หรือประมาณ 2,660 ฟุตต่อนาที ความเร็วลมที่สามารถเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้คือ 4 เมตรต่อวินาที หรือประมาณ 800 ฟุตต่อนาที ความสูงของเสากังหันลม 31 เมตร ขนาด กำลังผลิตสูงสุด 150 kW เป็นกังหันลมชนิดติดตั้งกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส 400 โวลท์ 50 Hz ติดตั้งแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2539
จากการทดลองจ่ายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากกังหันลม เข้าสู่ระบบจำหน่าย พบว่า ได้ผลเป็นที่น่าพอใจกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ จะมีประโยชน์กับท้องถิ่นบริเวณนั้น ซึ่งเป็นบริเวณปลายสายส่ง โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ต้องการใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก แต่การใช้กังหันลมจะประสบปัญหาในด้าน พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จะไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากความเร็วและทิศทางของลมไม่แน่นอน อีกทั้ง เสาของกังหันลมมีขนาดใหญ่ทำให้ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก ดังเช่นในสถานที่ทดลอง กังหันลมขนาด 150 kW มีขนาดใหญ่ จึงต้องนำไปติดตั้งใกล้กับหน้าผาชัน ทำให้เผชิญกับกระแสลมแปรปรวน และการสั่นสะเทือน อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายแก่ชิ้นส่วนต่างๆ ของกังหันลม รวมไปถึงชิ้นส่วนต่างๆ ของกังหันลมยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศทำให้ค่าใช้จ่ายสูง และเป็นการเสียดุลการค้ากับต่างชาติ ดังนั้น ในอนาคตหากจะพัฒนาให้สามารถนำพลังงานลมมาใช้ได้ ควรที่จะคำนึงถึงผลกระทบ ในด้านต่างๆ ด้วย
ในสภาวะปัจจุบัน โลกกำลังมีปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ปริมาณการใช้พลังงานที่มากขึ้น ดังนั้น การทดลองนี้จะเป็นแนวทางเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ และเป็นทางเลือกพลังงานอีกทางหนึ่ง ที่สะอาดและมีอยู่อย่างไม่จำกัด จึงควรที่ภาครัฐจะให้ความสำคัญ และให้การสนับสนุนการวิจัย เพื่อการพัฒนาให้เป็นแหล่งพลังงาน
แปลและเรียบเรียงจาก
- “IN NEED OF FURTHER momentum” Asia-Pacific Power Management P.21-24
- www.egat.or.th/rddenergy/phuket.html
โครงการท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก และ โครงการโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูด
โดย รัฐฐาน์ ฤทธิเกริกไกร
วิศวกร สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความเรื่องโครงการท่อส่งก๊าซและสถานี แยกก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก และโครงการโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูดนี้ เป็นบทความที่รวบรวมและนำเสนอความเป็นมาพร้อมข้อมูลที่มีประโยชน์ของโครงการ แต่แหล่งข้อมูลที่สามารถรวบรวมและอ้างอิงได้นั้น มาจากหน่วยงานของรัฐและสื่อมวลชนเป็นหลัก มิได้มีเจตนาที่จะสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่อย่างใด
ปัญหาท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก และโครงการโรงไฟฟ้าบ้าน หินกรูด เป็นปัญหาที่เริ่มจากความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่ จนขณะนี้ลุกลามเป็นปัญหาระดับประเทศไปแล้ว รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก และโครงการโรงไฟฟ้าบ้าน หินกรูด รวม 3 โครงการ (ฉบับที่ 2) โดยในส่วนโครงการท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย รัฐบาลตกลงให้ดำเนินการตามสัญญาและเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาส่งผลกระทบต่อสังคมและชุมชน จึงให้ ปตท. เปลี่ยนจุดวางท่อขึ้นฝั่งจากจุดเดิมที่บ้านตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา ไปในรัศมี ไม่เกิน 5 กิโลเมตร โดยให้จุดที่จะขึ้นฝั่งเลยไปทางด้านเหนือที่บริเวณบ้านในไร่ ต.สะกอ
ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก และโครงการโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูดได้ชะลอการก่อสร้างออกไปอย่างน้อย 2 ปี โรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งจะมีการสร้างหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับเอกชน การออกแถลงการณ์ของรัฐบาลได้มีการคำนึงถึงสัญญาที่ให้กับประชาชน ผลกระทบต่างๆ การ สำรองไฟฟ้า และความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ทั้งนี้พบว่าอัตราขยายตัวของการใช้ไฟฟ้ามีเพียงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้จัดทำไว้เพราะคาด--การณ์เดิมระบุว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะขยายตัวร้อยละ 6-7 โดย กฟผ. ระบุว่าไฟฟ้าเพียงพออย่างน้อยถึง พ.ศ. 2550 แต่ทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วพบว่าตัวเลขไฟฟ้าในปัจจุบันอาจเพียงพอถึงปี พ.ศ. 2553 ในส่วนของค่าชดเชยให้มีการตกลงกันระหว่างคู่สัญญาทั้งสอง โดยทางเอกชนไม่น่าจะหยิบยกเรื่องเหตุสุดวิสัยที่เกิดจากรัฐบาลมาเป็นข้อเรียกร้องค่าเสียหาย เนื่องจากเอกชนเองก็ไม่มีความพร้อมในการก่อสร้าง โดยโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก ยัง ไม่สามารถหาแหล่งเงินกู้ได้ จนถึงขณะนี้เลยระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญาแล้ว ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูดยังขาดใบอนุญาตเรื่องที่ดินอีก 1 ใบ
ความเป็นมาของโครงการท่อก๊าซเจดีเอ
โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียหรือ JDA เป็นโครงการที่สร้างรากฐานพลังงานชาติได้อีก 60 ปี หลังจากที่ต้องนำเข้าพลังงานและเสียเงินตราต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ถ่านหิน จนกระทั่งประเทศไทยได้ค้นพบแหล่งก๊าซในอ่าวไทยและได้เข้าร่วมเป็นเจ้าของแหล่งก๊าซธรรมชาติกลางทะเลร่วมกับมาเลเซีย เกิดความมั่นคงด้านพลังงานถึงรุ่นลูกหลานและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย โครงการความร่วมมือท่อส่งก๊าซและสถานีแยก ก๊าซไทย-มาเลเซีย เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของประเทศ เพื่อนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ประโยชน์จากพื้นที่ JDA ซึ่งเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวที่ไทยและมาเลเซียได้อ้างสิทธิเหลื่อมล้ำกันเกี่ยวกับเส้นเขตไหล่ทวีปในพื้นที่ 7,250 ตารางกิโลเมตรกันมาเป็นเวลานานไม่มีใครสามารถเข้าไปสำรวจทรัพยากรปิโตรเลียมบริเวณดังกล่าวได้ ซึ่งกว่าจะยุติความขัดแย้งและแปรมาเป็นความร่วมมือกันได้ต้องใช้เวลาหลายปี จึงถือเป็นต้นแบบของการเจรจาเปลี่ยนความขัดแย้งด้านดินแดนมาสู่ความร่วมมือด้านพลังงาน ซึ่งไทยและมาเลเซียต่างได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน
โครงการท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซียจะสร้างศักยภาพการพัฒนาให้ภาคใต้ตอนล่าง ลำพัง ปตท.เองไม่อาจดำเนินการได้เพราะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องให้โครงการท่อก๊าซและสถานีแยกก๊าซเป็นตัวนำร่องเพื่อการพัฒนาภาคใต้ตอนล่างที่จะตามมาในอนาคต การร่วมทุนกับเปโตรนาสในโครงการ ดังกล่าว ยังทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติของไทยเข้ากับมาเลเซียเป็นครั้งแรก สร้างความมั่นคงต่อการจัดหาในอนาคต เนื่องจากมาเลเซียมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองมากกว่า 80 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตและเป็นปฐมบทของการเชื่อมโยงเครือข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคอาเซียน (Trans-ASEAN Gas Pipeline) ด้วย ความสำเร็จของการดำเนินโครงการร่วมทุนท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซียจะเป็นก้าวสำคัญให้ไทยก้าวขึ้นสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค สามารถแข่งขันกับมาเลเซียและสิงคโปร์ได้ แม้ว่าไทยอาจจะไม่มีทรัพยากรก๊าซธรรมชาติมากเท่ามาเลเซีย แต่เรามีความได้เปรียบ เนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางของแหล่งก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค อีกทั้งยังมีตลาดก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่รองรับด้วย ขณะนี้มาเลเซียและสิงคโปร์ต่างต้องการที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านพลังงานก๊าซธรรมชาติในกลุ่มอาเซียน เพราะทุกคนตระหนักดีว่าก๊าซธรรมชาติจะเป็นเชื้อเพลิงหลักของโลกในยุคหน้าน้ำมันก็กำลังจะหมดไป โดยสัดส่วนการผลิตต่อการสำรองน้ำมันโลก (R/P Ratio)มีเหลือใช้ได้อีกเพียง 40 ปี ทั้งยังมีราคาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปัจจัยของตลาดโลกในขณะที่ก๊าซธรรมชาติในโลกยังมีเหลือให้ใช้อยู่อีกถึง 60 ป
ปัญหาหนึ่งของจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ก็คือ ปัญหาไฟฟ้าตก/ไฟฟ้าดับ จากข้อมูลของ สพช. ที่รวบรวมสถิติไฟฟ้าดับในส่วนของการไฟฟ้าภาคใต้เขต 3 ประกอบด้วยจังหวัด สงขลา พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พบว่าปีที่ผ่านมาไฟฟ้าดับถึง 1,534 นาที ในขณะที่การไฟฟ้านครหลวงไฟฟ้าดับเพียง 52 นาทีในปีเดียวกัน ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ แต่ภาคใต้ตอนล่างกลับไม่มีโรงไฟฟ้าในพื้นที่ ต้องจัดหาไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าในพื้นที่อื่น และบางส่วนนำเข้าจากมาเลเซีย โครงการท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย จะเข้ามาช่วยรองรับสร้างศักยภาพในการพัฒนาทางด้านพลังงานของภาคใต้ต่อไปในอนาคต
โครงการฯ ได้มีการวิเคราะห์ผลตอบแทนการ ลงทุน และพบว่าโครงการฯ มีผลตอบแทนการลงทุนในระดับที่ร้อยละ 15 -18 ซึ่งเป็นระดับที่คุ้มค่าต่อการลงทุน (ได้รวมต้นทุนทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมไว้แล้ว) การใช้เงินลงทุนในโครงการนี้ ร้อยละ 70 (ประมาณ 20,000 ล้านบาท) เป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินต่างๆ ในรูปของ Project Finance ซึ่งถ้าหากไม่คุ้มทุนก็คงจะไม่มีสถาบันการเงินใดพิจารณาให้เงินกู้
โครงการนี้มี ปตท. และเปโตรนาส เป็นผู้รับประกันการจ่ายค่าบริการของโครงการฯ จึงทำให้บริษัทฯ มีรายได้ที่แน่นอนและมีผลตอบแทนอยู่ในระดับตามที่กำหนดไว้ นอกจากผลตอบแทนของโครงการนี้มีความคุ้มทุนแล้ว ยังมีความสามารถในการใช้คืนเงินกู้โดยไม่เป็นภาระของรัฐบาลอย่างแน่นอน สิ่งที่ประเทศและชุมชนท้องถิ่นจะได้รับจากโครงการฯ นอกเหนือจากผลตอบแทนทางเศรษฐ-- ศาสตร์แล้ว โครงการนี้ยังมีความสำคัญโดยเฉพาะต่อพื้นที่ภาคใต้เพราะจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมจากท้องถิ่นที่นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จากการสร้างความพร้อมทางด้านพลังงานสะอาดไว้รองรับ สร้างศักยภาพพลังงานเพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรม-- ชาติในอนาคต และเมื่อรัฐบาลประกาศใช้ระบบราคาก๊าซหุงต้มลอยตัวโดยยกเลิกการชดเชยค่าขนส่งก๊าซหุงต้ม ซึ่งปัจจุบันรัฐมีภาระชดเชยค่าก๊าซหุงต้มใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากสถานีแยกก๊าซขนอมไปยังคลังก๊าซธรรมชาติสงขลาเป็นจำนวนเงินถึงปีละ 252 ล้านบาท ซึ่งทันทีที่รัฐบาลใช้ราคาลอยตัวจะทำให้ผู้ใช้ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้เองดังนั้น ผู้ใช้ก๊าซหุงต้มที่อยู่ใกล้สถานีแยกก๊าซจะซื้อก๊าซ หุงต้มได้ในราคาที่ต่ำกว่าผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลออกไป นอกเหนือจากภาษีที่บริษัทจะต้องจ่ายให้กับท้องถิ่นในรูปภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน ตลอดอายุโครงการ (20ปี) ประมาณ ไม่น้อยกว่า 640 ล้านบาทแล้ว บริษัทฯ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคมชุมชนในพื้นที่ ได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาสังคมสำหรับพื้นที่ โครงการฯ ไว้ไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านบาท เพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิต รักษาประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยเป็นไปตามความต้องการของชุมชนเอง
สำหรับในด้านประโยชน์ของประเทศแล้ว จะมี รายได้จากภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จากโครงการนี้เป็นจำนวนเงินประมาณ 12,685 ล้านบาท และความมั่นคงด้านพลังงานซึ่งทำให้เพิ่มปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติให้กับประเทศอีก 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต อีกทั้งประหยัดเงินตราต่างประเทศได้อีกถึงประมาณ 18,000 ล้านบาท (470 ล้านเหรียญสหรัฐ) จากการนำก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง JDA ซึ่งมีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงอื่นไปใช้แทนน้ำมันเตาในโรงไฟฟ้าหรือโรงงานอุตสาหกรรม (ซึ่งเป็นการเทียบราคาน้ำมันเตาที่ 15 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล)
ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่แหล่ง JDA บริษัทที่ได้รับสิทธิสำรวจและผลิต ต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันที่กำหนดโดยเป็นผู้ลงทุนและแบกรับความเสี่ยงแต่เพียง ฝ่ายเดียว แต่เมื่อบริษัทประสบความสำเร็จในการสำรวจพบปิโตรเลียม รายได้ที่เกิดขึ้นจะนำมาแบ่งกับองค์กรร่วมฯ โดยคิดเป็นค่าภาคหลวงส่วนแบ่งกำไรสุทธิ ภาษีเงินได้ปิโตร-- เลียม ซึ่งรัฐไม่ต้องลงทุนและแบกรับการประสบกับความเสี่ยงจากโครงการใด ๆ เลย สำหรับบริษัท ไตรตัน ออยล์ ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมจากรัฐบาลไทย ตั้งแต่ปี 2515 ซึ่งขณะนั้นไทยและมาเลเซียยังไม่บรรลุข้อตกลงเป็นพื้นที่พัฒนาร่วม รัฐบาลไทยได้แจ้งให้ผู้รับสัมปทานที่มีแปลงสำรวจในเขตพื้นที่ทับซ้อนหยุดการสำรวจในพื้นที่ดังกล่าวจนกว่าจะหาข้อยุติเรื่องเขตทับซ้อนทางทะเลกับประเทศ เพื่อนบ้าน เมื่อไทยและมาเลเซียบรรลุข้อตกลงจัดตั้งองค์กรร่วมเมื่อปี 2535 องค์กรร่วมได้ให้สิทธิแก่บริษัทผู้รับสัมปทานเดิมที่ได้รับสิทธิจากรัฐบาลไทยและมาเลเซีย ซึ่งฝ่ายไทย ได้แก่ บริษัท ไตรตัน ออยล์ ในแปลง A-18 บริษัท ปตท. ในแปลง B-17 และ C-19 ในการพัฒนาแหล่ง JDA ส่วนของผลประโยชน์ในแปลง A-18 เมื่อคำนวณโดยหักค่าใช้จ่ายแล้ว รัฐบาลไทยและมาเลเซียได้รับส่วนแบ่งโดยผ่าน องค์กรร่วมคิดเป็นร้อยละ 62 บริษัทสำรวจได้รับส่วนแบ่ง ร้อยละ 38
ก๊าซธรรมชาติกับความจำเป็น ต้องใช้ภายในประเทศ
บาทของก๊าซธรรมชาติตลอด 20 ปีที่ผ่านมา คือเป็นเชื้อเพลิงทดแทนการใช้พลังงานน้ำมัน ปัจจุบันก๊าซธรรมชาติที่ขุดจากอ่าวไทยคิดเป็น 30% ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในประเทศวันนี้ หากไม่มีก๊าซธรรมชาติ ประเทศไทยจะต้องซื้อ-นำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศอีกถึงวันละ 3 แสนบาร์เรล จากการพัฒนาการใช้ก๊าซตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้วันนี้ เราผลิตไฟฟ้าโดย 69.8% ใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นพลังงานหลัก นอกจากนี้ก๊าซธรรมชาติยังใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมส่งให้สถานีแยกก๊าซ ซึ่งผลิตก๊าซหุงต้ม ก๊าซ อีเทน มีเทน ส่งไปยังอุตสาหกรรมปิโตรเคมี วันนี้ 50% ของก๊าซหุงต้มหรือ LPG ที่ใช้ตามครัวเรือนทั่วประเทศก็มาจากสถานีแยกก๊าซของกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท.นั่นเอง
การพัฒนาก๊าซธรรมชาติในอนาคตก็ยังเป็นสิ่ง จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปริมาณก๊าซเท่าที่มีอยู่ในอ่าวไทยจะไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในวันข้างหน้า ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งก๊าซในประเทศเพื่อนบ้าน ตั้งแต่ปี 2542 เริ่มรับก๊าซจากพม่า จนถึงปัจจุบัน ก๊าซธรรมชาติที่ในระบบ 75% มาจากอ่าวไทย และอีก 25% เป็นก๊าซที่ได้จากโครงการท่อก๊าซ ไทย-พม่า และในอีก 10 ปีข้างหน้า สัดส่วนการใช้ก๊าซที่จะเปลี่ยนแปลงไป โดย 50% จะเป็นก๊าซในอ่าวไทยของเราเอง อีก 50% จะเป็นก๊าซจากพม่าและพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียหรือ JDA ในระยะยาวมีความจำเป็นจะต้องพัฒนาแหล่งก๊าซในอ่าวไทยเพิ่มขึ้น เช่นในพื้นที่ทับซ้อนระหว่าง ไทย-กัมพูชา รวมไปถึงจุดอื่นใน มาเลเซีย อินโดนีเซียในอนาคตยังจะมีโครงการทรานส์ อาเชี่ยน ไพป์ไลน์ เชื่อมโยงระบบท่อก๊าซเข้าด้วยกัน โครงข่ายท่อก๊าซที่จะเชื่อมถึงกัน เป็นสิ่งที่จะเกิดในอนาคต ไม่ใช่มองแต่เฉพาะแหล่งก๊าซสำรองในอ่าวไทยของเราเพียงอย่างเดียว แต่จะมองว่าในอาเซียน แหล่งก๊าซสำรองโดยรวมทำให้เป็นระบบพูลที่มีโครงข่ายท่อเชื่อมต่อกัน มาเลเซีย บรูไน พม่า อาจจะเป็นเป็นผู้ขาย-ส่งออก ขณะที่ไทยจะเป็นผู้ซื้อ-นำเข้าผ่านเครือข่ายท่อที่เชื่อมถึงกัน ซึ่งจะสะดวก และราคาถูกกว่าแทนที่จะพึ่งพาเฉพาะการนำเข้าพลังงาน เชื้อเพลิงเหลวจากตะวันออกกลางเป็นหลักแต่เพียง ด้านเดียว

ตารางที่ 1 สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศต่างๆ (หน่วยเป็น %)
ความเป็นมาของโครงการโรงไฟฟ้า บ่อนอก หินกรูด
เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายลดภาระการลงทุน ภาครัฐและจะส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้า จึงกำหนดให้มีการลงทุนโดยเอกชนในการผลิตไฟฟ้าในรูปของผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer-IPP) ในโครงการใหม่ โดยจะขายไฟฟ้าให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2537 อนุมัติตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เรื่องแนวนโยบายในการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนในรูปของ ไอพีพี โดยมติดังกล่าวกำหนดให้ กฟผ. และสำนัก--งานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ร่วมกันร่างประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชน โดยมีบริษัทที่ปรึกษาเป็นผู้ร่วมดำเนินการ และได้มีการประกาศรับซื้อในวันที่ 15 ธันวาคม 2537 เป็นต้นไป โดยกำหนดยื่นข้อเสนอในวันที่ 30 มิถุนายน 2538 โดยการรับซื้อไฟฟ้าจะแยกรับเป็น 2 ระยะ จำนวนทั้งสิ้น 5,800 เมกะวัตต์ ดังน
- ระยะที่ 1 จำนวน 1,700 เมกะวัตต์ แล้วเสร็จในช่วงปี 2539-2543
- ระยะที่ 2 จำนวน 4,100 เมกะวัตต์ แล้วเสร็จในช่วงปี 2544 และ 2545
จากหลักการประเมินและคัดเลือกข้อเสนอตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กฟผ. ได้คัดเลือกข้อเสนอจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน 7 ราย จากผู้ยื่นข้อเสนอทั้งสิ้น 32 ราย รวม 50 ข้อเสนอ รวมกำลังผลิตที่เสนอทั้งสิ้น 39,037 เมกะวัตต์ ดังต่อไปนี้
- บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด ขนาดกำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็น เชื้อเพลิง
- บริษัท ไตรเอ็นเนอร์จี้ จำกัด ขนาดกำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
- บริษัท อีสเทอร์น เพาเวอร์ อิเลคตริก จำกัด ขนาดกำลังผลิต 350 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็น เชื้อเพลิง
- บริษัท ยูเนี่ยน เพาเวอร์ ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด ขนาดกำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ (2 x 700 เมกะวัตต์) ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
- บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด ขนาดกำลังผลิต 734 เมกะวัตต์ (2 x 367 เมกะวัตต์) ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
- บริษัท บ่อวินทู เพาเวอร์ จำกัด ขนาดกำลังผลิต 713 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
- บริษัท บี แอล ซี พี จำกัด ขนาดกำลังผลิต 1,341 เมกะวัตต์ (2 x 370.5 เมกะวัตต์) ใช้ถ่านหินเป็น เชื้อเพลิง
โรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็น 2 ใน 7 ราย ของโครงการ ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) ที่ได้รับคัดเลือก ตามแผนงานของ กฟผ. ซึ่งประกอบด้วย โรงไฟฟ้าบ้านหินกรูด อ.บางสะพาน ของบริษัท ยูเนี่ยน เพาเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด กำลังผลิต 1,400 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าบ่อนอก อ.เมือง ของบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจน--เนอเรชั่น จำกัด กำลังผลิต 734 เมกะวัตต์ แต่ถูกชาวบ้านในพื้นที่คัดค้าน เนื่องจากเกรงว่าการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงจะกระทบสภาพแวดล้อม การรวมตัวคัดค้านเริ่มเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2538 และขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากยกเลิกโครงการ โรงไฟฟ้าบ่อนอก หินกรูด
ปัญหาการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก-หินกรูดนั้น เริ่มจากความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่ จนลุกลามเป็นปัญหาระดับประเทศ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการตัดสินใจ หลังจากมีการรวบรวมข้อมูล และข้อคิดเห็นจากหลายฝ่ายไปแล้ว เราลองมาพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากต้องมีการยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้ง 2 โครงการนี้
1. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไม่ต้องมีโรงไฟฟ้าและสามารถรักษาสภาพแวดล้อมได้เช่นเดิม และมีวิถีชีวิตเหมือนเดิม ชาวบ้านสามารถทำประมง เลี้ยงกุ้ง ทำรีสอร์ทได้ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังจำเป็นต้องสร้างโรง--ไฟฟ้าใหม่อยู่ดี ดังนั้น จึงต้องหาสถานที่ทำเลใหม่ เริ่มต้นทำการศึกษาความเหมาะสม ซึ่งน่าจะดีหากเริ่มต้นใหม่โดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมตั้งแต่แรก แต่ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะเกิดการต่อต้านจากชาวบ้านอีกหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องยากที่จะสร้างความพอใจให้กับทุกๆ คนได้ อาจมีการต่อต้านจากกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนแล้วลุกลามเป็นการต่อต้านใหญ่โตไปในที่สุด
2. โรงไฟฟ้าใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีโอกาสเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินน้อยมาก เพราะเคยถูกต่อต้านสำเร็จมาแล้ว ดังนั้น แนวโน้มโรงไฟฟ้าที่จะสร้างใหม่ที่ยอมรับได้ จึงน่าจะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเชื่อกันว่ามีมลพิษน้อย ในขณะที่ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าของประเทศพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากกว่าร้อยละ 70 ดังนั้น หากต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติมาเสริมอีกก็จะทำให้ทางเลือกการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าน้อยลง ต้องพึ่งพาการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ซึ่งหากมีปัญหาในเรื่องการจัดหาก๊าซธรรมชาติก็จะทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอกับความต้องการใช้ได้และราคาค่าไฟฟ้าก็จะขึ้นอยู่กับก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก และโอกาสที่ค่าไฟฟ้าจะแพงก็มีความเป็นไปได้สูง
3. เงินชดเชยใครจะจ่าย หากรัฐผิดเพราะเป็นคนบอกเลิกสัญญาโดยที่บริษัทไม่ผิดรัฐก็ต้องจ่าย แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบริษัทผิดรัฐก็ไม่ต้องจ่ายแถมยังได้ค่าชดเชยด้วย เรื่องนี้ต้องว่ากันยาวหลายปี แต่ที่แน่ๆ คือ ทำให้บรรยากาศการลงทุนแย่ลง การแปรรูปกิจการไฟฟ้าก็จะลำบากมากขึ้น ระบบไฟฟ้าก็จะผูกขาดไปอีกนาน
4. หากไม่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินนำเข้า ก็ต้องเป็นไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง การนำเข้าก๊าซธรรมชาติมาเผาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้านั้นเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าถ่านหิน เพราะสามารถนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เคมีได้อีกมาก และสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมและยานพาหนะเพื่อทดแทนน้ำมัน จึงไม่ควรเร่งนำก๊าซธรรมชาติมาเผาเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า ดังจะเห็นได้จากประเทศที่มีก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจำนวนมาก จะไม่ใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าถึงร้อยละ 50 ของการผลิตไฟฟ้า ส่วนแคนาดาและอินโดนีเซียกว่าร้อยละ 25 ของไฟฟ้ามาจากถ่านหิน ดังนั้น จึงควรใช้ก๊าซธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและควรเก็บไว้ใช้นานๆ ตราบจนชั่วลูกชั่วหลาน
5.เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากที่สุด จึงได้รณรงค์ให้ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เพื่อนำมาอ้างเป็นผลงานการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของตนเอง เป็นการช่วยลดแรงกดดันในเรื่องสิ่งแวดล้อมสำหรับประเทศของตน การนำกลยุทธนี้มาใช้เป็นประโยชน์ต่อสหรัฐอเมริกาหรือประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นอย่างมาก นอกจากจะทำให้ประเทศกำลังพัฒนาเดินตามเจตนารมย์ คือ ลดการทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังทำให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีให้เท่าเทียมกับประเทศพัฒนา และทำให้ประเทศกำลังพัฒนาต้องใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นที่มีต้นทุนสูงกว่ามาแทน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผลผลิตทางอุตสาหกรรมแข่งกับประเทศพัฒนาแล้ว
โรงไฟฟ้าถ่านหินในโลกปัจจุบัน
การใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ายังคงพึ่งพาพลังงานสิ้นเปลืองเป็นหลัก เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนมีต้นทุนสูงมากสำหรับพลังงานสิ้นเปลือง โดยเฉพาะถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงที่มีปริมาณสำรองกว่า 200 ปี และราคามีเสถียรภาพ ทำให้หลายประเทศในโลกใช้เป็นเชื้อเพลิงหลัก สำหรับผลิตไฟฟ้า ดังแสดงในตารางที่ 1 นอกจากนี้กลุ่มประเทศต่างๆ ในโลกก็ยังคงมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้ากันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศจีน แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน เช่น ประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ก็ยังมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ด้วย ดังแสดงในตารางที่ 2
บทสรุป
แม้ว่ารัฐบาลจะตกลงให้ดำเนินการโครงการท่อ ส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซียต่อไป โดยขยับจุดวางท่อขึ้นฝั่งจากบ้านตลิ่งชัน อ. จะนะ จ. สงขลา ไปที่บริเวณบ้านไร่ ต. สะกอ ซึ่งมีรัศมีประมาณ 4.5 กิโลเมตร แต่ยังคงต้องคำนึงถึงเสียงตอบรับของประชาชนทั้งด้าน สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรงอย่างเช่นในวันที่ 21 ตุลาคม 2543 ที่แม้ว่ารัฐจะไดพิจารณาโครงการเป็นอย่างดีแล้ว แต่ยังขาดการพิจารณาเรื่อง “สิทธิชุมชน” จึงทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง และรุนแรงจนเป็นปัญหาระดับประเทศ้
ในด้านของโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก และโครงการโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูด ที่ได้ชะลอการก่อสร้างออกไปอย่างน้อย 2 ปี นอกจากจะต้องคำนึงถึงปัญหา และ มุมมองต่างๆ เหมือนโครงการท่อส่งก๊าซและสถานีแยกก๊าซไทย-มาเลเซียแล้ว ยังต้องคำนึงถึงผลดี-ผลเสียของโรงไฟฟ้าแบบต่างๆ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าหลักของประเทศไทยเรา, ปริมาณ กำลังไฟฟ้าสำรองในประเทศ, ค่าใช้จ่ายต่างๆ และคุ้มในด้านเศรษฐศาสตร์ อย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง เพื่อหาจุดลงตัวของทุกฝ่ายต่อไป

ตารางที่ 2 ตัวอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหินของประเทศต่างๆ
เรียบเรีบงข้อมูลจาก
- ท่อก๊าซ, หนังสือพิมพ์คมชัดลึก, 12 พฤษภาคม 2545 หน้า 14
- ไม่มีใครแพ้-ใครชนะ ปตท. ซื้อก๊าซ JDA ความมั่นคงพลังงานชาติ, หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, 13 พฤษภาคม 2545
- เดินหน้าท่อก๊าซชะลอ 2 โรงไฟฟ้า, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 10 พฤษภาคม 2545
- สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศต่างๆ, วารสารกิจการไฟฟ้า, ธันวาคม 2544 หน้า 3
- สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (หินกรูด-บ่อนอก), สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ,มกราคม 2545, www.nepo.co.th
- โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก, บริษัทกัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด, www.gulf.co.th/thai.html
- โครงการโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูด, บริษัทยูเนี่ยน เพาเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด, www.updc.co.th
- ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการยกเลิกโครงการบ่อนอก-หินกรูด, NEPO NEWSLETTER, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เมษายน 2545 หน้า 3
- โรงไฟฟ้าถ่านหินในโลกปัจจุบัน, วารสารกิจการไฟฟ้า, เมษายน 2545 หน้า 3
เชื้อเพลิงสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
ก๊าซธรรมชาติสามารถนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยตรงหรือใช้กับเครื่องจักร ได้แก่ หม้อน้ำ อุปกรณ์เป่าหรืออบแห้ง เตาหลอม เตาเผา ในโรงงานแทนเชื้อเพลิงอื่น อาทิ ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเตา โดยปัจจุบัน ปตท. ได้ส่งก๊าซฯ ให้กับโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิค เหล็ก กระจก ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ยางรถยนต์ เครื่องสุขภัณฑ์ ทองแดง โลหะ เคมีภัณฑ์ หลอดภาพโทรทัศน์ ฯลฯ และลูกค้าอุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบ Co-Generation อีก 12 ราย การใช้ก๊าซธรรมชาติในโรงงานอุตสาหกรรมนี้นับได้ว่าได้เติบโตสูงขึ้นทุกปี และล่าสุดในปี 2545 มีปริมาณการใช้วันละประมาณ 198 ล้านลูกบาศก์ฟุต เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ถึงร้อยละ 8
ข้อดีของการใช้ก๊าซฯ
ก๊าซธรรมชาติมีราคาสมเหตุสมผล ไม่มีภาระเรื่องการเก็บสำรองหรือขนส่ง ให้ความร้อนสม่ำเสมอ เสียค่าดำเนินการและค่าบำรุงรักษาน้อยเนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นโดยลำดับ จากข้อได้เปรียบด้านเทคโนโลยีจากการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ยิ่งไปกว่านั้นยังจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ หม้อน้ำ ได้นานขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ลูกค้าอุตสาหกรรมสามารถมั่นใจได้ถึงคุณภาพของก๊าซที่สม่ำเสมอและมีความมั่นคงต่อเนื่องของก๊าซฯ ที่รับได้จาก ปตท. ตลอดเวลา เพราะก๊าซธรรมชาติจากระบบท่อฝั่งตะวันออกจะมีค่าความร้อนคงที่เป็นหนึ่งเดียวและมีคุณภาพเดียวกันทั้งระบบ เนื่องจากมีการติดตั้งหน่วยควบคุมจุดกลั่นตัวของก๊าซธรรมชาติ (Dew Point Control Unit) และอุปกรณ์รวมก๊าซธรรมชาติ (Common Header)
เครือข่ายการให้บริการ
โรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ตามแนวท่อก๊าซฯ บนบกของของ ปตท.ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สามารถเลือกใช้ก๊าซธรรมชาติได้ โดยในหลักการนั้น ปตท.เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการวางท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติส่งก๊าซจากระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท.ไปจนถึงโรงงานของบริษัท
ทั้งนี้ ท่านสามารถติดต่อกับทีมงานวิศวกรที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะให้คำแนะนำและปรึกษาในการดำเนินการ และด้วยระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท.ทั้งบนบกและในทะเลมีความยาวนับพันกิโลเมตร ปตท.จึงได้จัดตั้งหน่วยงานปฏิบัติการก๊าซรับผิดชอบการปฏิบัติงานของระบบท่อออกเป็นเขตที่ชัดเจนเพื่อควบคุมการรับ-ส่งก๊าซแก่ลูกค้าก๊าซฯ และบำรุงรักษาระบบอย่างทั่วถึงตลอด 24 ชั่วโมงได้แก่
- ส่วนปฏิบัติการระบบท่อเขต 1 ครอบคลุมจังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานครบางส่วน
- ส่วนปฏิบัติการระบบท่อเขต 2 ครอบคลุมจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพ และสระบุรี นนทบุรีและนครปฐม
- ส่วนปฏิบัติการระบบท่อเขต 3 ครอบคลุมจังหวัดระยองและชลบุรี
- ส่วนปฏิบัติการระบบท่อเขต 5 ครอบคลุมจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรีและนครปฐม
ทั้งนี้ ส่วนปฏิบัติการเขตต่างๆ นี้ มีหน้าที่หลักในการดูแลบำรุงรักษาระบบท่อรวมถึงดูแลโรงงานอุตสาหกรรมในเขตรับผิดชอบ รวมทั้งในกรณีเหตุฉุกเฉินที่อาจมีผลกระทบต่อการส่งก๊าซและกระบวนการผลิตของบริษัทนอกเวลาราชการด้วย
บริการลูกค้า
โรงงานอุตสาหกรรมที่ประสงค์จะสอบถามข้อมูลรายละเอียดในการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ความเป็นไปได้ในการต่อท่อก๊าซฯ ไปยังโรงงาน เพื่อรับบริการ ต้นทุนในการสร้างระบบขนส่ง ตลอดจนด้านเทคนิคและการเงินต่างๆ สามารถติดต่อส่วนบริการลูกค้าก๊าซ ฝ่ายระบบท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ โทร. 02 537-3235-9 โทรสาร 0 2537-3257 ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริการลูกค้าเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยตรง อีกทั้งให้คำแนะนะและจัดอบรมให้ความรู้ต่างๆ ในด้านความปลอดภัยและการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ก๊าซธรรมชาติ NG
ก๊าซธรรมชาติเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เกิดจากการทับถมของซากพืชและ สัตว์จำพวกจุลินทรีย์ที่อาศัยในโลกมานานนับหลายร้อยล้านปี โดยทั่วไปก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตจะประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด ได้แก่ มีเทน โปรเพน บิวเทน เฮกเซน และก๊าซอื่นๆ อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์
ก๊าซธรรมชาติไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและพิษ จัดได้ว่าเป็นพลังงานที่ปลอดภัยสูงสุดผลิตภัณฑ์หนึ่งในปัจจุบัน เมื่อเผาไหม้จะเป็นเชื้อเพลิงสะอาดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมันและถ่านหิน ด้วยเหตุนี้นานาอารยะประเทศจึงนิยมใช้ก๊าซธรรมชาติกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ
ปตท.และบริษัทในกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ เป็นผู้ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติครบวงจรเพียงรายเดียวในประเทศ โดยเป็นผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติจากผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศตอบสนองความต้องการในประเทศมากว่า 20 ปี ปริมาณก๊าซฯ ที่จัดหาจากทุกสัญญาซึ่งเป็นสัญญาระยะยาว โดยปัจจุบันมีปริมาณที่จัดส่งให้ลูกค้าทุกประเภทรวม 2,300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นอกจากนี้ ประเทศมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ (Proved Reserves) ถึง 12.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่างก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา และก๊าซหุงต้ม
ข้อเปรียบเทียบ | ก๊าซธรรมชาติ | น้ำมันเตา | ก๊าซหุงต้ม |
1. ความปลอดภัย | เบากว่าอากาศเมื่อรั่วไหล จะลอยขึ้นสู่ที่สูง กระจายไปในอากาศ | ปลอดภัยน้อย เมื่อรั่วไหลจะนองอยู่บนพื้น | ปลอดภัยน้อย เนื่องจากหนักกว่าอากาศ เมื่อรั่วจะสะสมอยู่ระดับพื้น |
2. ความพร้อม ในการนำมาใช้งาน | สถานะเป็นก๊าซนำไปใช้ได้เลย | สถานะเป็นของเหลว ต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสม ในการผสมกับอากาศ ก่อนการเผาไหม้ |
สถานะเป็นของเหลว ต้องทำให้เป็นก๊าซ ก่อนนำไปใช้งาน |
3. ประสิทธิภาพของการเผาไหม้ | เผาไหม้ได้สมบูรณ์ สถานะเป็นก๊าซสามารถผสมกับอากาศได้ดีกว่า | เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ทำให้น้ำมันเป็นฝอยได้ยากผสมกับอากาศได้ไม่ดี | เผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่า น้ำมันเตา สามารถผสมกับอากาศได้ดีกว่า |
4. ผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมจากการเผาไหม้ |
เผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่า สะอาด ปราศจากเขม่า ไม่เกิดมลภาวะ |
เผาไหม้ได้สมบูรณ์น้อยกว่า มีเขม่าติดและไอเสียมาก |
เผาไหม้ได้สมบูรณ์ ปราศจากเขม่า |
6. คุณลักษณะทางเคมี | มีกำมะถันน้อยมาก และไม่มีวานาเดียม ทำให้เกิดการกัดกร่อน อุปกรณ์น้อยกว่า |
เกิดการกัดกร่อนของอุปกรณ์ ที่เกิดจาก Low-Temperature Corrosion ของ Sulfur และ High Temperature Corrosion |
มีกำมะถันน้อยกว่าน้ำมันเตา ทำให้เกิดการกัดกร่อน ของอุปกรณ์น้อย |
7. ค่าใช้จ่ายอื่น - ขนส่งโดยระบบท่อเข้าสู่โรงงาน |
|
|
|
การใช้ก๊าซธรรมชาติ
ทั้งนี้ ปตท.ส่งก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตต่างๆ ดังนี้
- การผลิตกระแสไฟฟ้า สำหรับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก
- เชื้อเพลิงสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
- เชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์
การควบคุมคุณภาพ
ปตท.ตระหนักดีว่าการควบคุมคุณภาพก๊าซธรรมชาติเป็นงานที่มีความสำคัญมาก และเนื่องจากก๊าซธรรมชาติที่ ปตท.ส่งให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นรับจากหลากหลายแหล่งที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน จึงได้ทำการปรับปรุงก๊าซฯ ในฝั่งตะวันออกให้มีคุณภาพเดียวกันหมดและคงที่ ก่อนส่งเข้าระบบท่อเพื่อส่งต่อไปยังลูกค้าแต่ละราย นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพก๊าซธรรมชาติให้เป็นไปตามสัญญาอย่างสม่ำเสมอตามวิธีมาตรฐานสากล เพื่อความมั่นใจสูงสุดว่าก๊าซธรรมชาติที่ซื้อจาก ปตท.มีคุณภาพได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
ในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของก๊าซธรรมชาตินั้นมีการดำเนินการวิเคราะห์ดังต่อไปนี้
- การเก็บตัวอย่างก๊าซธรรมชาติเพื่อวิเคราะห์ค่าส่วนประกอบของก๊าซธรรมชาติ (มีเทน อีเทน โปรเพน เพนเทน เฮกเซน คาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจน) โดยใช้เครื่อง Gas Chromatograph
- การวัดค่าและคำนวณค่าความร้อนของก๊าซธรรมชาติ (Gross Heating Value) ซึ่งจะควบคุมให้เป็นไปตามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่างบริษัทและลูกค้า
- การวัดและคำนวณค่าความถ่วงจำเพาะ ของก๊าซ ฯ (Gas Relative Density) โดยใช้เครื่อง Gravitometer
- การวัดและควบคุมค่าความชื้นของก๊าซฯ (Moisture Contents)
- การควบคุมและวิเคราะห์ปริมาณออกซิเจนในก๊าซธรรมชาติ
- การควบคุมและวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบซัลเฟอร์และปริมาณปรอท
ก๊าซแอลพีจี หรือก๊าซหุงต้ม
|
![]() |
|||||||||||||||||
|
![]() |
||
|